ภัยจากเหมืองถ่านหิน (Coal mining dangers)

Dr. Roppon Picha
Advanced Technology Division
Research and Development Group
Thailand Institute of Nuclear Technology

ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลักแหล่งหนึ่งของโลก ราว 1/4 ของพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ทั่วโลกมาจากเชื้อเพลิงถ่านหิน [1] แต่ในการทำเหมืองถ่านหินนั้น ผู้ทำงานต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ฝุ่นหนา ก้อนหินที่ร่วงหล่นจากผนังและเพดานถ้ำ อันตรายจากน้ำท่วม และการระเบิดของแก๊ส

 
 
ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในโลก
จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนการเสียชิวิตของคนทำงานในเหมืองถ่านหินมากที่สุดในโลก (ประมาณ 80% ของจำนวนทั้งหมดในโลก[2]) ในปี ค.ศ. 2004 มีจำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 6,000 คน[3] แต่สำหรับในประเทศที่มีการพัฒนาสูง เช่น สหรัฐอเมริกา จำนวนก็ต่ำกว่าหลายเท่า ซึ่งจุดนี้แสดงให้เห็นว่า หากมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ก็จะสามารถลดจำนวนการเสียชีวิตลงได้มาก
จำนวนการเสียชีวิตในเหมืองถ่านหินของสหรัฐอเมริกา data: Federal Mine Safety and Health Administration chart: Tom Blumer จำนวนการเสียชีวิตในเหมืองถ่านหินของจีน (ในหน่วยพันคน) credit: Economist.com
ข่าวอุบัติเหตุของเหมืองถ่านหินในประเทศจีน รายงานโดย BBC News

ถ่านหินมีสมบัติอย่างหนึ่งคือ ฟุ้งกระจายได้โดยง่าย อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ สร้างมลภาวะที่อันตรายต่อผู้ทำงานในบริเวณนั้น นอกจากอนุภาคเหล่านี้ ไอของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจน ในปริมาณสูง ซึ่งแก๊สเหล่านี้สามารถทำให้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจได้ (asphyxia) โดยอากาศที่สกปรกในเหมืองถ่านหินนี้ ก่อให้เกิดปัญหากับระบบหายใจ เรียกว่าโรคฝุ่นจับปอด (pneumoconiosis หรือ black lung disease) ซึ่งกระทบต่อคนงานเหมืองทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีคนงานเป็นโรคนี้ราว 4.5% ในแต่ละปี [4]

นอกจากนี้ อันตรายที่ร้ายแรงที่สุดอีกอย่างหนึ่งของเหมืองถ่านหินก็คือ การรวมตัวของแก๊สมีเทน (methane, CH4) และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งเป็นแก๊สไวไฟ และสามารถนำไปสู่การระเบิดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของการเสียชีวิตของคนงานในเหมือง

ทางลง เหมือง Lackawanna, Pennsylvania
credit: Wally Gobetz
การเข้าเยี่ยมชมเหมือง Silver Plume, Colorado
credit: John Bencina
 
 
เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของจีนเตรียมเข้ากู้ภัยจากการระเบิดของเหมืองถ่านหินซินเยา ในเดือนธันวาคม 2007 credit: REUTERS
นอกจากอันตรายกับคนงานเหมืองโดยตรงนี้แล้ว การเผาไหม้ถ่านหินก็ยังสร้างมลภาวะทางอากาศให้กับชุมชนโดยรอบ โดยในแต่ละปี โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โรง จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ราว 3-4 ล้านตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ [5] ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10,000 ตัน ไนโตรเจนออกไซด์ 10,200 ตัน คาร์บอนมอนอกไซด์ 720 ตัน และ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 500 ตัน [6] องค์การวิจัยเช่น Clean Air Task Force ได้รายงานว่า มลภาวะฝุ่นละออง (fine particle pollution) ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้คนป่วยเป็นโรคหอบเพิ่มขึ้น มีอายุสั้นลง [7]
 
 
credit: Chang W. Lee/The New York Times
อ้างอิง (References):
  1. US Energy Information Administration
  2. China Daily, Nov 2004
  3. China Labour Bulletin, Jan 2006
  4. Abelard
  5. Climate Crisis
  6. Union of Concerned Scientists
  7. Clean Air Task Force