การวิเคราะห์ปริมาณโลหะในเส้นด้ายไหมโดยเทคนิคนิวตรอนแอกติเวชัน

วรรณา วิมลวัฒนาภัณฑ์1  อรพรรณ ลีลานุพัฒน์1  รุ่งอรุณ สายศรี1 และ ประทีป มีศิลปะ2
1
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
2สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เทคนิคการวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนหรือนิวตรอนแอกติเวชัน (Neutron Activation Analysis : NAA) เป็นเทคนิคที่มีความน่าเชื่อถือและมีสภาพไวในการวิเคราะห์ปริมาณธาตุสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีวิเคราะห์อื่น ๆ สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ตัวอย่างได้หลากหลายประเภท(1-2)  ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาเทคนิค NAA เพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในผ้าไหมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย(3) โดยความร่วมมือกับสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ เป็นผู้จัดหาตัวอย่างผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งผลการวิจัยได้เผยแพร่ไว้แล้วในบทความคราวก่อน เรื่องการวิเคราะห์ปริมาณโลหะในผ้าไหมโดยเทคนิคทางนิวเคลียร์ (ดู http://www.tint.or.th/nkc/nkc 5004/nkc5004t.html)

อนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ ในการตรวจสอบเบื้องต้นถึงคุณภาพผ้าไหมด้านปริมาณโลหะโดยเทียบเกณฑ์กำหนดของสินค้าสิ่งทอส่งออก  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้วิเคราะห์โลหะในตัวอย่างวัตถุดิบคือ เส้นด้ายไหม อีกด้วย ดังผลการทดลองที่จะได้แสดงไว้ในบทความนี้

วิธีการ

ตัวอย่างเส้นด้ายไหมที่ทำการวิเคราะห์ มี 5 ตัวอย่าง (5 สี) ได้แก่ สีเหลือง แดง น้ำเงิน และ  ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค INAA โดยใช้ตัวอย่างละประมาณ 100 มิลลิกรัม (ทำซ้ำ 3) ตามเงื่อนไขในการวิเคราะห์ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เงื่อนไขในการวิเคราะห์โลหะในเส้นด้ายไหม

นิวตรอนฟลักซ์

เวลาในการอาบรังสี

เวลาการสลาย กัมมันตรังสี

เวลาที่ใช้ในการวัดรังสี

โลหะที่ตรวจวิเคราะห์

~ 4x1011 n/cm2.sec

1 วัน

1-2 วัน

30 นาที

As, Au, K

 

2 สัปดาห์

1 ชั่วโมง

Ag, Cr, Fe, Hg, Sb, Zn

ผลการทดลองและวิจารณ์ผล

การวิเคราะห์เชิงปริมาณของโลหะในเส้นด้ายไหม ได้ผลการวิเคราะห์ดังแสดงในตารางที่ 2 และรูปที่ 1  ปริมาณโลหะหนักที่วิเคราะห์ได้อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีในปริมาณมาก (major components) ได้แก่ Fe, K และ Zn โดยมีค่าเฉลี่ย 261, 123 และ 51มิลลิกรัม/กิโลกรัม (หรือ ppm) ตามลำดับ  ส่วนโลหะอื่นจะอยู่ในกลุ่มที่มีในปริมาณน้อย (trace metals) โดยมีค่าน้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ทั้งนี้สังเกตได้ว่าเส้นไหมสีเหลือง (ไหมธรรมชาติ) มีปริมาณโลหะต่าง ๆ ค่อนข้างสูงเทียบกับไหมสีอื่น ๆ โดยเฉพาะ Ag, As และ Zn  ส่วนเส้นไหมสีน้ำเงินพบว่ามีปริมาณโลหะ Au และ Hg สูงที่สุด แต่มีปริมาณ Sb ต่ำกว่าไหมสีอื่น ๆ อย่างเด่นชัด  เส้นไหมสีทองมีปริมาณโลหะมีค่า คือ Au ต่ำกว่าไหมสีอื่น ๆ อย่างมาก แต่มี Fe ในปริมาณมากที่สุด ส่วนเส้นไหมสีน้ำตาลมี Cr สูงสุด  ในขณะที่เส้นไหมสีแดงมี K สูงถึงประมาณ 2 เท่าของไหมสีอื่น ๆและของค่าเฉลี่ย

อนึ่งตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างปริมาณโลหะในเส้นไหม ผ้าไหม รวมทั้งแสดงค่ามาตรฐานโลหะหนักเป็นพิษบางตัวที่มีกำหนดสำหรับสิ่งทอ(4)  พบว่าโดยทั่วไปปริมาณโลหะในเส้นไหมมีค่าต่ำกว่าในผ้าไหมมากหลายเท่า ยกเว้น Hg, Sb และ Zn ที่มีค่าใกล้เคียงกัน  ทั้งนี้อาจเป็นนัยบ่งชี้ว่าปริมาณโลหะต่าง ๆ ในผ้าไหมนั้นนอกจากมาจากเส้นไหมที่ใช้ทอผ้าแล้ว อาจมาจากวัตถุดิบอื่น ๆ และหรือกระบวนการต่าง ๆ ในขั้นตอนการผลิตผ้าไหม

ตารางที่ 2 ปริมาณโลหะในตัวอย่างเส้นด้ายไหม

 

โลหะ

ปริมาณความเข้มข้นในหน่วย มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm)

เส้นไหม
สีเหลือง

เส้นไหม
สีทอง

เส้นไหม
สีแดง

เส้นไหม
สีน้ำเงิน

เส้นไหม
สีน้ำตาล

Mean ? SD

Ag

0.071

0.014

0.048

0.021

0.012

0.033 ? 0.026

As

0.103

0.034

0.021

0.027

0.027

0.042 ? 0.034

Au

0.062

0.011

0.020

0.116

0.034

0.049 ? 0.042

Cr

0.090

0.140

0.180

0.350

0.440

0.24 ? 0.15

Fe

200

387

291

232

196

261 ? 80

Hg

0.017

0.014

0.019

0.030

0.022

0.020 ? 0.006

K

129

131

246

34

76

123 ? 80

Sb

0.183

0.176

0.170

0.018

0.029

0.12 ? 0.08

Zn

70.2

61.0

31.7

33.2

59.4

51.1 ? 17.5

รูปที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณโลหะในเส้นไหมสีต่าง ๆ

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยปริมาณโลหะในเส้นไหม ผ้าไหม และค่ามาตรฐานในสิ่งทอ(4)

โลหะ

ปริมาณความเข้มข้นในหน่วย มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm)

Oko-Tex Standard 100 (ppm)

เสันด้ายไหม [5]

ผ้าไหม [51]

Ag

0.033 ? 0.026

0.13 ? 0.08

-

As

0.042 ? 0.034

0.18 ? 0.10

0.2-1.0

Au

0.049 ? 0.042

0.062 ? 0.111

-

Cr

0.24 ? 0.15

1.90 ? 1.30

1.0-2.0

Fe

261 ? 80

3,030 ? 1,829

-

Hg

0.020 ? 0.006

0.024 ? 0.015

0.02

K

123 ? 80

1,173 ? 964

-

Sb

0.12 ? 0.08

0.073 ? 0.176

-

Zn

51.1 ? 17.5

58.8 ? 47.9

-

หมายเหตุ :  ตัวเลขใน [ ] คือจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

บทสรุป

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาการใช้เทคนิค INAA วิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในผ้าไหม(3)และในเส้นไหม(5) โดยความร่วมมือกับสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ  นอกจากนี้ยังได้ประยุกต์ใช้ในงานบริการวิเคราะห์ตัวอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผงไหมและดักแด้ไหม(6) เทคนิค NAA จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกให้ผู้ผลิตสินค้าผ้าไหมส่งออก (หรือผลิตภัณฑ์ไหมอื่น ๆ) ที่ต้องการใช้บริการวิเคราะห์โลหะหนักต่อไป

การอ้างอิง

  1. International Atomic Energy Agency, Industrial and Environmental Applications of Nuclear Analytical Techniques, IAEA-TECDOC-1121, 1999, IAEA, Vienna, Austria.
  2. Witkoska, E., Szczepaniak, K., Biziuk, M. Some Applications of Neutron Activation Analysis: A Review. J. Radioanal. and Nuc. Chem., 2005, 265, 1, 141-150.
  3. วรรณา วิมลวัฒนาภัณฑ์  อรพรรณ ลีลานุพัฒน์ วุฒิชัย จันทรโชติ  และ สัญญา เทศทอง “การวิเคราะห์ปริมาณโลหะในผ้าไหมโดยเทคนิคการอาบนิวตรอน. ใน “การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2”  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, 19-22 สิงหาคม 2550, 10 หน้า.
  4. Oko-Tex Standard 100, http://www.thaitextile.org /co-lab/default.htm, Accessed on 26 February 2008.
  5. Wimolwattanapun, W., Leelanupat, O, Saisri, R, Meesilpa, P., 2008. Determination of Metals in Silk Yarn by Neutron Activation Analysis. Proceedings of the Siam Physics Congress 2008, 20-22 March 2008, Nakorn Rajsima, Thailand.
  6. Wimolwattanapun, W., Chantarachot, W., Meekhanthong, S., Tedthong, S., Laoharojanaphand, S., 2006. Elemental analysis of silk caterpillars. Proceedings of the 32nd Congress on Science and Technology of Thailand, 10-12 October 2006, Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok, Thailand.