ศูนย์ฉายรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 37 หมู่ 3 เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-5774167-71 โทรสาร 02-5771945 http://www.tint.or.th/tic/HOME.htm

ศูนย์ฉายรังสี ให้บริการฉายรังสีแกมมาจากเครื่องฉายรังสีแบบ Carrier Type Gamma Irradiator รุ่น JS 8900 IR-155 โดยใช้สารกัมมันตรังสีโคบอลต์-60 เป็นแหล่งกำเนิดรังสีแกมมา โคบอลต์-60 นั้นได้จากธาตุโคบอลต์-59 ที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นจำนวนมากและอยู่ในสภาพที่เสถียร อาบด้วยนิวตรอนนาน 18 เดือน โดยโคบอลต์-60 ที่ได้จะเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีและมีครึ่งชีวิต 5.26 ปี และจะสลายไปเป็นนิกเกิล-60 มีการปลดปล่อยอนุภาคบีตาพลังงาน 0.318 MeV (ล้านอิเล็กตรอนโวลต์) และรังสีแกมมาพลังงาน 1.33 MeV และ 1.17 MeV รังสีแกมมาที่ได้นี้ เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหารได้ เพราะไม่ทำให้อาหารกลายเป็นสารกัมมันตรังสีเนื่องจากที่ระดับพลังงานนี้ รังสีแกมมามีพลังงานไม่สูงพอที่จะทำให้อาหารเกิดสารก่อกัมมันต์ได้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2549 เรื่องอาหารฉายรังสี ได้อนุญาตให้ฉายรังสีอาหารที่ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ได้

วัตถุประสงค์ของการฉายรังสีและปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุด (กิโลเกรย์) ที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทย
อ้างอิงจาก เอกสารหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2549 เรื่อง อาหารฉายรังสี

ลำดับที่

วัตถุประสงค์ของการฉายรังสี

ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุด *
(กิโลเกรย์)

1

ยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา

1

2

ชะลอการสุก

2

3

ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง

2

4

ลดปริมาณปรสิต

4

5

ยืดอายุการเก็บรักษา

7

6

ลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

10

* ปริมาณรังสีดูดกลืน (กิโลเกรย์, kGy) คือ การวัดปริมาณพลังงานรังสีใดๆ ที่วัตถุตัวกลางใด ดูดกลืนไว้ได้ เมื่อมีรังสีผ่านเข้ามา

ข้อจำกัดของการฉายรังสีอาหาร

  1. ไม่สามารถใช้ได้กับอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนและน้ำสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
  2. อาจทำให้เนื้อสัมผัสของผลไม้และสีของเนื้อสัตว์บางชนิดเปลี่ยนไป ทำให้ต้องเลือกใช้ปริมาณรังสีที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
  3. ไม่สามารถทำลายสารพิษตกค้างที่มีอยู่ในอาหารได้
  4. จำเป็นต้องใช้การแช่เย็น แช่แข็ง หรือความร้อน ร่วมด้วยในบางกรณี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการถนอมอาหาร

ขั้นตอนการขอรับบริการฉายรังสี

 
ขอเลขสารบบของอาหารฉายรังสี จาก สนง.คณะกรรมการอาหารและยา ประจำจังหวัด
 
 
ปรึกษาเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับ ปริมาณรังสีที่ต้องใช้ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และขนาดกล่องที่ใช้บรรจุ
 
 
เขียนใบคำขอฉายรังสีล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และรอการตอบรับการจัดเวลาฉายรังสีุ
 
 
ส่งผลิตภัณฑ์และรับกลับตามกำหนด ที่ระบุไว้ในใบคำขอฉายรังสี (ไม่เกิน 2 วัน)