กล้วยตากฉายรังสี Dried Banana with Honey
ศูนย์ฉายรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
37 หมู่ 3 เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-5774167-71 โทรสาร 02-5771945 http://www.tint.or.th/tic/HOME.htm

วัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปริมาณรังสีที่ใช้ต่ำสุด 2 กิโลเกรย์

กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) บรรจุในซองพลาสติกปิดสนิท นำมาฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยนำกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) มาวัดการกระจายของรังสีตาม dose mapping reference No. M 187

การตรวจวิเคราะห์ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 เดือน หลังการฉายรังสี โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 586/2528 – กล้วยอบ

ชนิดจุลินทรีย์ที่ตรวจวิเคราะห์
(จำนวนคอโลนี ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม)

กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า)
ไม่ผ่านการฉายรังสี

กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า)
ฉายรังสี

มอก. 586/2528 - กล้วยอบ

1.จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด

5,800

100

ไม่เกิน 100,000 คอโลนี ต่อ 1 กรัมตัวอย่าง

2.จำนวนเชื้อราและยีสต์ทั้งหมด

20

น้อยกว่า 10

ไม่เกิน 100 คอโลนี ต่อ 1 กรัมตัวอย่าง

3.Coliform  โดยวิธี MPN ต่อตัวอย่าง 1 กรัม

น้อยกว่า 3

น้อยกว่า 3

 

4.E. coli

ไม่พบ

ไม่พบ

น้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม โดยวิธี MPN

5.Staphylococcus  aureus

พบ

ไม่พบ

ไม่พบต่อตัวอย่าง 1 กรัม

6.Salmonella

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ ต่อตัวอย่าง 1 กรัม

7.Clostridium perfringens

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ ต่อตัวอย่าง 1 กรัม 

 
ข้อมูลโภชนาการ กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ฉายรังสี

Nutrition Facts ข้อมูลโภชนาการ

Serving Size หนึ่งหน่วยบริโภค: 2 pieces ชิ้น (40 grams กรัม)

Serving per Container จำนวนหน่วยบริโภคต่อถุง: about ประมาณ 6

Amount per Serving คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

Calories พลังงานทั้งหมด  130
Calories from fat พลังงานจากไขมัน  0

 

ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน*

% Daily Value*

Total Fat ไขมันทั้งหมด

     0  g,    ก.

0 %

 Saturated Fat ไขมันอิ่มตัว

     0  g,     ก.

0 %

 trans Fat

     0  g,     ก.

 

Cholesterol โคเลสเตอรอล

       0  mg, มก.

0 %

Sodium โซเดียม

       5  mg, มก.

0 %

Total Carbohydrate คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 31 g , ก.

10 %

     Dietary Fiber ใยอาหาร

      3  g,    ก.  

12 %

     Sugars            น้ำตาล

     23 g,    ก.

 

Protein โปรตีน

  Less than     น้อยกว่า 1 g, ก.  

Vitamin A  วิตามินเอ 0 %
Vitamin C วิตามินซี
0 %

Calcium แคลเซียม   0 %   

   Iron  เหล็ก

      2 %            

* Percent  Daily  Values  are  based  on  a  2,000  calorie  diet. Your daily

   Values may be higher or lower depending on your calories needs :

* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 แคลอรี่

การประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสของกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) จะดำเนินการให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ โดย ผู้ชิมจำนวน 12-16 คน การวิเคราะห์และการคำนวณทางสถิติใช้โปรแกรม MINITAB V.15 ในการคำนวณและประเมินผล แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การทดสอบความแตกต่างวิธี Triangle test โดยให้ ผู้ทดสอบชิมเลือกตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง ที่มีความแตกต่างจากพวก คือในการทดสอบ มี 1 ตัวอย่างที่เป็นกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ฉายรังสีและอีก 2 ตัวอย่างที่เหลือ เป็นตัวอย่างควบคุมคือกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ไม่ผ่านการฉายรังสี ผลการทดลองพบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินให้กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 6 วัน 1 เดือน และ2 เดือนหลังฉายรังสี

ส่วนที่ 2 การประเมินคุณลักษณะและความชอบ เช่น ลักษณะภายนอก กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวมเป็นต้น โดยใช้สเกลตั้งแต่ 5จุด ถึง 9 จุด โดยระดับคะแนนที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาได้ ผลการทดลอง พบว่าผู้ทดสอบชิมประเมินคุณลักษณะและความชอบ ให้กล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 6 วัน หลังฉายรังสีและ ผู้ทดสอบชิมประเมินความชอบโดยรวมของกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 3เดือนหลังฉายรังสี

จากผลการทดลองนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ฉายรังสีและเตรียมเป็นรูปแบบการกระจายของรังสี เพื่อใช้อ้างอิงในการฉายรังสีกล้วยตาก (กล้วยน้ำว้า) ให้กับผู้ประกอบการต่อไป โดยเทคโนโลยีการฉายรังสีสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เผยแพร่ทั้งในประเทศและส่งออกได้