ทุเรียนกรอบฉายรังสี Crispy Durian
ศูนย์ฉายรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
37 หมู่ 3 เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-5774167-71 โทรสาร 02-5771945 http://www.tint.or.th/tic/HOME.htm

วัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปริมาณรังสีที่ใช้ต่ำสุด 2 กิโลเกรย์

ทุเรียนกรอบบรรจุในถุงพอลิโพรพิลีน นำมาฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยนำทุเรียนกรอบมาวัดการกระจายของรังสีตาม checking dose No. M 050

การตรวจวิเคราะห์ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ ผลการตรวจวิเคราะห์จำนวนจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์ทุเรียนกรอบฉายรังสีที่ปริมาณรังสีต่ำสุด 2 กิโลเกรย์ และนำไปเก็บรักษาที่ห้องอุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 เดือน หลังการฉายรังสีโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2317/2549 -ทุเรียนทอดกรอบ

ชนิดจุลินทรีย์ที่ตรวจวิเคราะห์ (จำนวนคอโลนี ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม)

ทุเรียนกรอบ
ไม่ผ่านการฉายรังสี

ทุเรียนกรอบ
ฉายรังสี

มอก. 2317/2549 - ทุเรียนทอดกรอบ

1.จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด

130

 น้อยกว่า  10

 

2.จำนวนเชื้อราและยีสต์ทั้งหมด

     200

น้อยกว่า  10

ไม่เกิน 10 คอโลนี ต่อ 1 กรัมตัวอย่าง

3.Coliform  โดยวิธี   MPN ต่อ ตัวอย่าง 1 กรัม

   น้อยกว่า 3

น้อยกว่า 3

น้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม โดยวิธี MPN

4.E. coli

     ไม่พบ

   ไม่พบ

 

5.Staphylococcus  aureus

      ไม่พบ

    ไม่พบ

 

6.Salmonella

      ไม่พบ

    ไม่พบ

 

การประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสของทุเรียนกรอบ จะดำเนินการให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ โดยผู้ชิมจำนวน 12-16 คน การวิเคราะห์และการคำนวณทางสถิติใช้โปรแกรม MINITAB V.15 ในการคำนวณและประเมินผลแบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การทดสอบความแตกต่างวิธี different from control test โดยให้ ผู้ทดสอบชิมระบุถึงระดับความแตกต่างระหว่างตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 อาหารฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสี กลุ่มที่ 2 อาหารไม่ฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสี โดยใช้สเกลตั้งแต่ 5 จุด ถึง 9 จุด แล้วนำคะแนนที่ได้ของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบว่า อาหารฉายรังสีและอาหารไม่ฉายรังสีมีความแตกต่างกันทางสถิติหรือไม่ ผลการทดลองพบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินให้ทุเรียนกรอบที่ฉายรังสี ไม่แตกต่างจากทุเรียนกรอบที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 1 และ 3 และ 5 เดือนหลังฉายรังสี

ส่วนที่ 2 การการประเมินคุณลักษณะและความชอบ เช่น ลักษณะภายนอก กลิ่น รสชาติ ความชอบโดยรวม โดยใช้สเกลตั้งแต่ 5 จุดถึง 9 จุด โดยระดับคะแนนที่ได้ สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพ ระหว่างการเก็บรักษาได้ ผลการทดลองพบว่า ผู้ทดสอบชิมประเมินความชอบโดยรวม ให้ทุเรียนกรอบที่ฉายรังสีไม่แตกต่างจากทุเรียนกรอบที่ไม่ได้ฉายรังสี ณ 1 และ 3 และ5 เดือนหลังฉายรังสี

จากผลการทดลองนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตทุเรียนกรอบฉายรังสี และเตรียมเป็นรูปแบบการกระจายของรังสี เพื่อใช้อ้างอิงในการฉายรังสีทุเรียนกรอบให้กับผู้ประกอบการต่อไป โดยเทคโนโลยีการฉายรังสีสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เผยแพร่ทั้งในประเทศและส่งออกได้