STKC

ชื่อนี้มีที่มา (3)
เบ็กเคอเรล (becquerel)

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เบ็กเคอเรล (becquerel ย่อว่า Bq) เป็นชื่อพิเศษของระบบหน่วยสากลหรือหน่วยเอสไอ (International System of units ย่อว่า SI) สำหรับใช้วัดกัมมันตภาพ (activity) มีค่าเท่ากับการสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที หรือ 1 ดีพีเอส (dps ย่อมาจาก disintegration per second) เบ็กเคอเรลเป็นหน่วยที่มาแทนที่หน่วยคูรี แต่มีขนาดเล็กกว่าหน่วยคูรีเป็น อันมาก กล่าวคือ 1 คูรีเท่ากับสามหมื่นเจ็ดพันล้าน (3.7x1010) เบ็กเคอเรล

ในจดหมายที่คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดทางรังสีหรือไอซีอาร์ยู (International Commission on Radiological Units and Measurements ย่อว่า ICRU) ส่งถึงวารสารหลายฉบับเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1975 แจ้งให้ทราบ ทั่วกันว่า ในที่ประชุมทั่วไปว่าด้วยน้ำหนักและมาตราวัด (General Conference of Weights and Measures ) ได้รับรอง ข้อเสนอแนะของไอซีอาร์ยูให้ใช้หน่วยเอสไอของ “ กัมมันตภาพ” เป็น “ เบ็กเคอเรล” โดยไอซีอาร์ยูให้อรรถาธิบายว่า : เนื่องจาก “อองตวน อองรี แบ็กเกอแรล (Antoine Henri Becquerel (1852-1908) ค้นพบปรากฏการณ์ "กัมมันตภาพรังส"ี (radioactivity) เมื่อ ค.ศ. 1896 และจากผลงานนี้ เมื่อปี 1903 แบ็กเกอแรลก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ มารีและปีแอร์ กูรี (Marie and Pierre Curie)” ดังนั้นการที่สามีภรรยากูรีและแเบ็กเกอแรลได้รับรางวัลโนเบลแรกที่เกี่ยวกับ สารกัมมันตรังสีร่วมกัน จึงเห็นเป็นการสมควรว่าให้ใช้หน่วยเบ็กเคอเรลแทนหน่วยคูรี

The Nobel Prize in Physics 1903

"in recognition of the extraordinary services he has rendered by his discovery of spontaneous radioactivity"

"in recognition of the extraordinary services they have rendered by their joint researches on the radiation phenomena discovered by Professor Henri Becquerel"

Antoine Henri Becquerel

Pierre Curie

Marie Curie, nee Sklodowska

1/2 of the prize

1/4 of the prize

1/4 of the prize

France

France

France

Ecole Polytechnique
Paris, France

Ecole municipale de physique et de chimie industrielles (Municipal School of Industrial Physics and Chemistry)
Paris, France

 

b. 1852
d. 1908

b. 1859
d. 1906

b. 1867
(in Warsaw, Poland, then Russian Empire)
d. 1934

Titles, data and places given above refer to the time of the award.
Photos: Copyright ? The Nobel Foundation

อันที่จริง 1 ปีก่อนการประกาศของไอซีอาร์ยู กล่าวคือในจดหมายข่าวสมาคมฟิสิกส์สุขภาพ ( Health Physics Society Newsletter ) ฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 1974 นั้น คีท เชียเจอร์ ( Keith Schiager) ได้เสนอมาก่อนแล้วให้ใช้ชื่อหน่วย “ เบ็กเคอเรล” (becquerel) ย่อว่า Bq (ตัวย่อของหน่วยในภาษาอังกฤษที่มีที่มาจากชื่อบุคคล พยัญชนะตัวแรกให้ใช้ตัวใหญ่) โดยเทียบเท่ากับการสลายกัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที เพื่อให้เกียรติแก่ อองรี แบ็กเกอแรล ผู้ค้นพบปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี

หากว่าไอซีอาร์ยูได้ทราบข้อเสนอของเชียเจอร์แต่แรก ก็คงไม่จำเป็นต้องประกาศการรับรองหน่วยนี้เอง

เรียบเรียงจาก The Origin of Selected Radiological and Nuclear Terms: Becquerel โดย Paul W. Frame (Oak Ridge Associated Universities )

(เผยแพร่ : 21 เมษายน 2552)