STKC
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 (วทน. 11)

"เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย"

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า กรุงเทพฯ

สาขาชีววิทยาและการเกษตร

BA03: การใช้รังสีแกมมาเพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในวัสดุพาหะ
ที่ใช้ในการผลิตหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ

* พรรณลดา ติตตะบุตร 1, กมลลักษณ์ เทียมไธสง 1, วชิราภรณ์ ผิวล่อง 2,
หนึ่ง เตียอำรุง 1 , สิรินาฎ เลาหะโรจนพันธ์ 2, นันทกร บุญเกิด 1
1 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 044-224159 โทรสาร 044-224154 E-mail: panlada@sut.ac.th
2 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-5967600 ต่อ 5211 โทรสาร 02-5620121 E-mail: sirinart@tint.or.th

บทคัดย่อ

การฉายรังสีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกำจัดเชื้อปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพสูงขึ้น เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพหากมีการกำจัดเชื้อปนเปื้อนในวัสดุพาหะก่อนนำไปผลิตก็จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดของวัสดุพาหะ ความชื้นของวัสดุพาหะ ขนาดบรรจุ รวมทั้ง ชนิดของพลาสติกที่ใช้บรรจุ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อปนเปื้อนด้วยวิธีการฉายรังสีแกมมา ทั้งนี้พบว่าการฉายรังสีสามารถ กำจัดเชื้อปนเปื้อนในวัสดุพาหะทั้ง peat และ compost ได้ดี และสามารถใช้ ปริมาณรังสีเพียง 15 กิโลเกรย์ เพื่อกำจัด เชื้อปนเปื้อนในวัสดุพาหะที่มีความชื้นต่ำกว่า 20% ในขณะที่ต้องใช้ปริมาณรังสีสูงถึง 25 กิโลเกรย์ เพื่อกำจัดเชื้อปนเปื้อน ในวัสดุพาหะที่มีความชื้น 30% อีกทั้งขนาดบรรจุของวัสดุพาหะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นส่งผลให้ต้องใช้ปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นเพื่อกำจัด เชื้อปนเปื้อนเช่นกัน สำหรับชนิดของพลาสติก พบว่าถุงบรรจุพลาสติกชนิด polyethylene มีความคงทนต่อรังสีแม้การฉาย ที่ปริมาณรังสีสูง อย่างไรก็ดีได้ตรวจพบเชื้อปนเปื้อนเกิดขึ้นในวัสดุพาหะที่ผ่านการฉายรังสีแล้วหลังจากเก็บที่อุณหภูมิห้องนาน 2 เดือน ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากกลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์ และทนต่อรังสีแกมมาได้ ซึ่งจะต้องทำการพิสูจน์ต่อไป รวมทั้งนำวัสดุพาหะที่ผ่านการฉายรังสีแล้วไปใช้ทดสอบในการผลิตหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ

คำสำคัญ : วัสดุพาหะ รังสีแกมมา หัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพ การกำจัดเชื้อปนเปื้อน

 

BA03: Sterilization of Carriers by using Gamma Irradiation for Biofertilizer Inoculum Production

*Panlada Tittabutr 1, Kamonluck Teamtisong 1, Wachiraporn Pewlong 2, Neung Teaumroong 1, Sirinart Laoharojanaphand 2, Nantakorn Boonkerd 1
1 School of Biotechnology, Institute of Agricultural Technology, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima 30000
Phone: 044-224159, Fax: 044-224154, E-mail: panlada@sut.ac.th
2 Thailand Institute of Nuclear Technology, Chatuchak, Bangkok 10900
Phone: 02-5967600 ext. 5211, Fax: 02-5620121, E-mail: sirinart@tint.or.th

Abstract

Gamma irradiation has been widely used in sterilization process, which leads to improvement in the quality of the products. In the case of biofertilizer inoculum, the sterilized carrier is also needed for producing high quality biofertilizer. This study aimed at determining the factors, such as carrier materials, moistures, and packing sizes including packaging materials that may affect the sterilization efficiency by using gamma irradiation. All carrier materials, peat and compost, could be efficiently sterilized by irradiation. The carriers that have moisture content lower than 20% could be sterilized by irradiation at 15 kGy, while carrier with 30% moisture content must be sterilized by irradiation at 25 kGy. Higher irradiation dose was also necessary for sterilization of bigger carrier packing sizes. For packaging materials, polyethylene bag appeared most durable after gamma irradiation even at high doses. However, contaminants could be detected in irradiated carrier after storage at room temperature for two months. It was hypothesized that these contaminants are spore forming microorganisms, which resist gamma irradiation. This hypothesis, as well as the quality of biofertilizer produced from irradiated carrier, will be further evaluated.

Keywords: carrier, gamma irradiation, biofertilizer inoculum, sterilization