STKC
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 (วทน. 11)

"เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย"

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า กรุงเทพฯ

สาขาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

ES01: การวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาในน้ำทะเลจากอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ด้วยวิธีการตกตะกอนร่วม

* ยุทธนา ตุ้มน้อย กนกพร ธรฤทธิ์ ณัชกานต์ เผ่าเพ็ง และสุชิน อุดมสมพร
กลุ่มเฝ้าตรวจกัมมันตภาพรังสี
สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
โทรศัพท์ 0 2579 5230 ต่อ 1423 โทรสาร 0 2562 0093 E-Mail: yutthana@oaep.go.th

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาในน้ำทะเล โดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลจากอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จำนวน 100 ตัวอย่าง (50 สถานี) ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน มาทำการวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาด้วยวิธีการ ตกตะกอนร่วม ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ของปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาสำหรับ น้ำทะเล คือ 0.1 Bq/l พบปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาในน้ำทะเลอยู่ในช่วง 0.015– 0.178 Bq/l (เฉลี่ย 0.061 +0.038 Bq/l) และ 0.001– 0.201 Bq/l (เฉลี่ย 0.065 +0.037 Bq/l) ในฤดูแล้งและฝน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับค่าปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาที่ได้ทำการศึกษาในอดีต ทั้งในประเทศไทย (0.067-0.127 Bq/l) และ สเปน (0.058– 0.082 Bq/l) พบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตุรกี (0.3-0.5 Bq/l) พบว่ามีค่าต่ำกว่า แสดงให้ เห็นว่าน้ำทะเลของประเทศไทยอยู่ในสภาวะปกติ ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า น้ำทะเลของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีปริปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ถึงแม้จะพบน้ำทะเลที่เก็บจากบางสถานี (7 และ 3 สถานี สำหรับฤดูแล้ง และฤดูฝน ตามลำดับ) มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟาเกินค่ามาตรฐาน ( 0.102-0.178 และ 0.109-0.201 ตามลำดับ ) แต่นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เป็นสาเหตุให้ปริมาณกัมมันตภาพรังสีรวมแอลฟา ในน้ำทะเลจาก สถานีดังกล่าว เกินค่ามาตรฐานน่าจะเป็นนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม และเรเดียม ดังนั้น จากผลการดำเนินงานในครั้งนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่าน้ำทะเล ทั้งจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อยู่ในสภาพที่จะไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบทางรังสีต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน

คำสำคัญ : แอลฟา น้ำทะเล ประเทศไทย การตกตะกอนร่วม

ES01: The Determination of Gross-Alpha Radioactivity in Seawater from the Gulf of Thailand and the Andaman Sea, using the Coprecipitation Technique

* Yutthana Tumnoi Kanokporn Thorarith Natchakan Phaopeng and Suchin Udomsomporn
Radiation Measurement Group, Bureau of Technical Support for Safety Regulations Office of Atoms for Peace
Phone: 0 2579 5230 ext 1423, Fax: 0 2562 0093, E-Mail: yutthana@oaep.go.th

Abstract

Gross-alpha activity in seawater was chosen to be studied in this paper. A hundred samples were collected from 50 stations located in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea during the dry and wet seasons. Concentrations of gross-alpha radioactivity were analysed using the coprecipitation technique and were compared with the previous studies and with 0.1 Bq/l, a guideline value of gross alpha level permitted to contain in seawater. Gross-alpha concentrations range from 0.015 to 0.178 Bq/l with an average of 0.061 +0.038 Bq/l and from 0.001 to 0.201 Bq/l with an average of 0.065 +0.037 Bq/l in the dry and wet seasons, respectively. The results obtained from the recent work were consistent with those values from the previous studies in Thailand (0.067-0.127 Bq/l) and Spain (0.058-0.082 Bq/l), and lower than the values from Turkey (0.3-0.5 Bq/l) indicating that our seawater is in normal condition. In addition, our results showed that the gross-alpha radioactivity levels of the majority of the seawater samples collected from both seasons have not exceeded the guideline level. Although 7 and 3 seawater samples collected in the dry and wet seasons, respectively, presented high levels of gross-alpha activity (0.102-0.178 and 0.109-0.201 Bq/l, respectively), natural isotopes, uranium and radium for instances, are likely to be the main contributors causing this phenomena. This implies that seawater in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea is clean and does not pose any radiation hazards to the environment and the public.

Keywords: Gross-alpha, Seawater, Thailand, Coprecipitation