STKC
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 (วทน. 11)

"เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย"

วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552

ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า กรุงเทพฯ

สาขาพอลิเมอร์และเคมี

PC02: การพัฒนาวิธีการสกัดแร่ซิลิเกตเพื่อใช้ตรวจสอบมันฝรั่งฉายรังสี ด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์

วรรณภา ธีระสาร และ *วันวิสา สุดประเสริฐ
ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 0 2562 5444 ต่อ 1202 โทรสาร 0 2579 5530 E-Mail: fsciwasu@ku.ac.th

บทคัดย่อ

เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ ( TL ) เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจสอบอาหารฉายรังสี โดยในขั้นตอนของ การตรวจสอบจำเป็นต้องสกัดแยกสารประกอบอนินทรีย์เช่น แร่ซิลิเกต ออกจากตัวอย่างอาหาร โดยอาศัยความแตกต่างของ ความหนาแน่น ซึ่งปกตินิยมใช้สารละลายโซเดียมโพลีทังสเตทความหนาแน่น 2.0 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งมีราคา สูงมาก งานวิจัยนี้จึงศึกษาพัฒนาวิธีการสกัดแร่ซิลิเกตออกจากตัวอย่างอาหาร ด้วยสารที่มีราคาถูกกว่าและหาซื้อได้ง่าย โดยทดลองสกัดแร่ซิลิเกตออกจากหัวมันฝรั่งฉายรังสีปริมาณ 0, 0.05, 0.15, 0.25, 0.5 และ 1 กิโลเกรย์ ด้วยสารละลาย โพแทสเซียมคาร์บอเนต ที่มีความหนาแน่นประมาณ 2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ทำการตรวจสอบประเภทของแร่ซิลิเกต ที่สกัดได้ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD ) และวิเคราะห์คุณสมบัติ TL ด้วยเครื่องอ่านสัญญาณ TL เพื่อประเมิน ความถูกต้องในการตรวจพิสูจน์การฉายรังสีของตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า แร่ซิลิเกตที่สกัดได้จากมันฝรั่งมีควอตซ์เป็น แร่องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์คุณสมบัติ TL โดยพิจารณาจาก glow curve พบว่ามันฝรั่งฉายรังสีทุกตัวอย่าง พบพีคสูงสุดที่อุณหภูมิ 208 – 280 องศาเซลเซียส ในขณะที่มันฝรั่งที่ไม่ได้ผ่านการฉายรังสีพบพีคสูงสุดที่อุณหภูมิ 289 – 351 องศาเซลเซียส สรุปได้ว่า การตรวจสอบมันฝรั่งฉายรังสีด้วยเทคนิค TL สามารถสกัดแยกแร่ซิลิเกตออกจากตัวอย่าง มันฝรั่งได้ด้วยการใช้สารละลายโพแทสเซียมคาร์บอเนต แทนการใช้สารละลายโซเดียมโพลีทังสเตท ซึ่งช่วยลดต้นทุน ในการตรวจสอบลงได้อย่างน้อย 20 เท่า

คำสำคัญ : เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ มันฝรั่งฉายรังสี โพแทสเซียมคาร์บอเนต แร่ซิลิเกต

PC02: Development of Silicate Extraction Method for Detection of Irradiated Potatoes by Thermoluminescence

Wannapha Teerasarn and *Wanwisa Sudprasert
Department of Applied Radiation and Isotopes, Faculty of Science, Kasetsart University
50 Phahon Yothin Rd. , LadYao, Chatuchak, Bangkok 10900
Phone: 0 2562 5444 ext. 1202, Fax: 0 2579 5530, E-mail fsciwasu@ku.ac.th

Abstract

Thermoluminescence (TL) is a promising technique used for detection of irradiated foods. In practice, silicate minerals are first isolated from foods by density gradient with sodium polytungstate of a density 2.0 g/cm 3, which is very expensive reagent. The study was carried out to develop a new low-cost reagent for silicate extraction . The silicate minerals were extracted from irradiated potatoes (at dose s of 0, 0.05, 0.15, 0.25, 0.5 and 1 kGy) using potassium carbonate of a density 2 g/cm 3. X-ray diffraction spectroscopy (XRD) was employed to investigate the types of silicate minerals present in the extracts. The TL measurement was performed to identify the irradiation status of the samples using a TL reader. The results showed that quartz was found as the major mineral of the samples. The TL analysis of glow curve showed that irradiated potatoes exhibited a maximum glow peak between 208-280 ๐C, whereas non-irradiated potatoes exhibited a maximum glow peak between 289-351 ๐C. The results clearly indicate d that the silicate minerals can effectively be isolated from potatoes by using potassium carbonate instead of sodium polytungstate for the purpose of irradiation identification. In this sense, the cost of irradiation identification will be reduced at least 20 times comparing to using the conventional extraction reagent.

Keywords: Thermoluminescence, Irradiated Potatoes, Potassium Carbonate, Silicate Mineral