STKC 2553

อาหารฉายรังสี : ความเป็นมาของอาหารฉายรังสีในระดับสากล

สุรศักดิ์  สัจจบุตร
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ประวัติศาสตร์ของอาหารฉายรังสีได้เริ่มต้นขึ้นในช่วง ค.ศ. 1890-1940 ไปพร้อมๆกันกับการค้นพบของรังสีชนิดต่าง ๆ และการพัฒนากระบวนฉายรังสีรวมทั้งแหล่งกำเนิดรังสีที่ใช้สำหรับอาหาร โดยในช่วงปี 1940-1970 เป็นช่วงแห่งการวิจัย และพัฒนาอาหารฉายรังสีกันอย่างกว้างขวาง และในช่วงทศวรรษ 1970 ได้มีการทดสอบถึงความปลอดภัยของอาหาร ฉายรังสีอย่างเป็นระบบ ซึ่งในช่วงนี้นั้นก็ได้มีการออกกฎระเบียบต่าง ๆ มาใช้กับกระบวนการฉายรังสีในอาหาร โดย เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาหารฉายรังสีนั้นเกิดขึ้นดังนี้

1895 :

Wilhelm Conrad Roentgen นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันค้นพบรังสีเอกซ์

1896 :

Antoine Henri Becquerel นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสค้นพบกัมมันตภาพรังสี

1898 :

Pacronotti และ Procelli พบว่ารังสีมีผลต่อจุลินทรีย์

1904 :

Samuel C. Prescott จากสถาบัน Massashusetts Institute of Technology (MIT) ศึกษาผลของรังสีชนิดก่อไอออนต่อการตายของแบคทีเรีย

1905 :

British patent มีการจดสิทธิบัตรเรื่องการใช้รังสีชนิดก่อไอออน เพื่อทำลายแบคทีเรียในอาหาร โดยการฉายรังสี

1905-1920 :

เป็นช่วงแห่งการวิจัยพื้นฐานผลกระทบของรังสีชนิดก่อไอออนทางด้านเคมี กายภาพและชีววิทยา

1916 :

มีการฉายรังสีสตรอว์เบอรี่ในประเทศสวีเดน

1918 :

U.S. patent มีการจดสิทธิบัตรเรื่องการฉายรังสีอาหารโดยใช้รังสีเอกซ์

1921 :

B. Schwartz เผยแพร่ผลงานเรื่องการใช้รังสีเอกซ์กำจัดพยาธิตัวกลม ชนิด Trichinella spiralis ในเนื้อหมูดิบ และเรื่องการฉายรังสีกำจัดด้วง ในใบยาสูบ

1923-1927 :

ครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์เรื่องผลของรังสีต่อเอนไซม์

ครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์เรื่องการทดสอบความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี (อาหารสัตว์)

1920-1930 :

มีการพัฒนาเครื่องกำเนิดลำอิเล็กตรอน (electron beam accelerator)

1930 :

French patent มีการจดสิทธิบัตรเรื่องการใช้รังสีชนิดก่อไอออนในการถนอมอาหาร

1942 :

ทีมงานวิจัยของสถาบัน MIT ภายใต้สัญญาของกองทัพสหรัฐ แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ในการเก็บรักษาเนื้อวัวบด โดยผ่านการฉายรังสีเอกซ์

1945-1950 :

เป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การฉายรังสีอาหารถูกพัฒนาขึ้นมาก ในอเมริกาทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย

1953 :

“Atoms for peace” เกิดคำนี้ขึ้นมาจากการที่ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ ซึ่งได้มีหลายชาติ เข้าร่วมด้วยในการนำพลังงานปรมาณูไปใช้ในเชิงสันติ โดยมีกองทัพ สหรัฐเป็นหน่วยงานหลักในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหารฉายรังสี

1958 :

สหภาพโซเวียตอนุญาตให้มีการฉายรังสีในมันฝรั่งและเมล็ดธัญพืช

 

เยอรมันมีการฉายรังสีเครื่องเทศในทางการค้าเป็นครั้งแรก

1960 :

แคนาดาอนุญาตให้ฉายรังสีในมันฝรั่ง

1963 :

The U.S. Food and Drug Administration (USFDA) อนุญาตให้ มีการฉายรังสีกับเบคอน ข้าวสาลี มันฝรั่ง และแป้ง

1964 :

มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อศึกษา การใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์ในอาหารและการเกษตร

1965 :

กองทัพสหรัฐประกาศว่า การใช้รังสีเพื่อปลอดเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร มีความปลอดภัย

1973 :

ญี่ปุ่นเริ่มมีการฉายรังสีมันฝรั่งในระดับอุตสาหกรรม

1978 :

มีการจัดตั้ง The International Facility for Food Irradiation Technology (IFFIT) ขึ้นในเนเธอร์แลนด์โดยมี FAO และ IAEA ให้การสนับสนุน เพื่อถ่ายทอดความรู้ในด้านการฉายรังสีอาหาร และการพัฒนากระบวนการฉายรังสีอาหาร ให้กับนักวิทยาศาสตร์จาก ประเทศกำลังพัฒนา

1980 :

คณะกรรมผู้เชี่ยวชาญระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ศึกษาความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี (JECFI) ได้ประกาศว่า อาหารฉายรังสีที่ปริมาณเฉลี่ยรวมไม่เกิน 10 kGy ไม่มีอันตรายและไม่มีปัญหากับสารอาหารรวมทั้งจุลินทรีย์ จึงไม่จำเป็นต้องทดสอบความปลอดภัยอีกต่อไป

1985 :

USFDA อนุญาตให้มีการฉายรังสีในเนื้อหมู เพื่อควบคุมพยาธิตัวกลม Trichinella spiralis

1986 :

USFDA อนุญาตให้มีการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการสุก การงอก และทำลายเชื้อโรคอาหาร รวมทั้งในผักและเครื่องเทศ

1990 :

USFDA อนุญาตให้มีการฉายรังสีในเนื้อไก่เพื่อทำลายเชื้อ Salmonella

1996 :

มี 40 ประเทศให้การยอมรับการฉายรังสีในอาหาร จำนวนนี้มี 28 ประเทศที่มีการฉายรังสีอาหารในเชิงการค้า

1997 :

คณะกรรมผู้เชี่ยวชาญระหว่างองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ศึกษาถึงการฉายรังสีในอาหาร ที่ปริมาณสูง ประกาศว่า อาหารฉายรังสีไม่ว่าปริมาณเท่าใด ล้วนมีความปลอดภัย

มี 45 ประเทศให้การยอมรับการฉายรังสีในอาหาร

1999 :

สหภาพยุโรปอนุญาตให้มีการฉายรังสีในเครื่องเทศ สมุนไพร และ เครื่องปรุงรสอาหาร

2000 :

USFDA ยอมรับการฉายรังสีเพื่อควบคุมเชื้อ Salmonella บนเปลือกไข่ และลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในเมล็ดพันธุ์พืช

2007 :

อเมริกาอนุญาตให้มีการนำเข้าผลไม้ (จากประเทศไทย) 6 ชนิด ที่ผ่าน การฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลง ได้แก่ มังคุด เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง และสับปะรด

2010 :

กว่า 50 ประเทศยอมรับการฉายรังสีในอาหาร และมีการฉายรังสี ในอาหารกว่า 60 ชนิด

ที่มา :
  • Molins, R.A. 2001. Historical notes on food irradiation. In Food Irradiation: Principles and Applications, John Wiley and Sons,Inc, New York, Chap.1,pp 1-14.
  • Mostafavi, H.A, Fathollahi, H., Motamedi, F. and Mahyar, S. 2010.Food irradiation: Application,public acceptance and global trade. African Journal of Biotechnolgy .v.9, 2826-2833.