STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ในกระบวนการผลิตกระดาษให้มีความหนาแน่นหรือมีความหนาตามต้องการ มีการใช้เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์แบบการส่งผ่าน (transmission gauge) อาศัยหลักการส่งผ่านของรังสีในวัสดุ โดยวางต้นกำเนิดรังสีไว้ข้างหนึ่งของวัสดุ และหัววัดรังสีไว้ในตำแหน่งตรงกันข้าม จากนั้นจึงวัดความเข้มของปริมาณรังสีที่เหลือผ่านเนื้อวัสดุมา เครื่องวัดชนิดนี้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อวัดความหนาแน่น ความหนาของวัสดุ และวัดระดับปริมาณของสาร โดยสามารถติดตั้งถาวรในบริเวณที่ใช้งาน การใช้เครื่องวัดความหนา (thickness gauge) สำหรับใช้วัดความหนาของแผ่นวัสดุในอุตสาหกรรมเหล็ก กระดาษ เคมี พลาสติก และสิ่งทอ มีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น

  • เครื่องวัดความหนาที่ใช้หลักการส่งผ่านรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสี อะเมริเซียม-241 และซีเซียม–137
  •  เครื่องวัดความหนาที่ใช้หลักการส่งผ่านรังสีบีตาจากต้นกำเนิดรังสี คริปทอน– 5 หรือสตรอนเชียม–90 หรือ โพรมีเทียม–147 หรือแทลเลียม–204 และคาร์บอน–14 ที่มีความแรงรังสี ตั้งแต่ 40 เมกะเบ็กเคอเรล ถึง 40 จิกะเบ็กเคอเรล
  •  เครื่องวัดความหนาที่ใช้หลักการส่งผ่านรังสีเอกซ์ จากต้นกำเนิดรังสีเหล็ก–55 ที่มีความแรงรังสีตั้งแต่ 400 เมกะเบ็กเคอเรล ถึง 1200 จิกะเบ็กเคอเรล
ข้อดีของเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์คือ สามารถติดตั้งถาวรอยู่ภายนอกภาชนะบรรจุสิ่งที่ต้องการวัด โดยไม่ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องวัดสัมผัสกับวัสดุหรือสิ่งที่จะวัด จึงเหมาะกับงานวัดวัสดุที่มีอุณหภูมิสูง วัสดุที่มีการกัดกร่อนสูง วัสดุที่มีพิษสารเคมีอันตราย นอกจากนี้ ยังใช้ได้ดีกับการวัดผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตที่เร็วและต่อเนื่อง หรือให้กับการวัดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุหีบห่อเรียบร้อย มีความแม่นยำในการตรวจวัดสูงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
 
ข้อมูล :
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์