STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

"ผงไหม” คือ โปรตีนที่ผลิตมาจากส่วนของใยไหมซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ผงไหมจากกาวไหม ที่เรียกว่า ผงไหมซิริซิน และผงไหมจากเส้นใยไหม ที่เรียกว่า ผงไหมไฟโบรอิน ซึ่งมีทั้งชนิดที่ละลายน้ำและชนิดที่ไม่ละลายน้ำขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต

สทน.ได้ทำการวิจัยร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร พบว่า ผงไหมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีกรดอะมิโนอยู่มากถึง 16-18 ชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง ทั้งยังช่วยรักษาปริมาณน้ำในผิวหนัง กำจัดสิ่งสกปรกในเซลล์และยืดอายุเซลล์ได้อีกด้วย

กรดอะมิโนของผงไหม (หน่วย : มิลลิกรัม/100 กรัม)

Aspartic acid

9,484.88

Alanine

2,588.33

Tyrosine

3099.70

Threonine

2,951.70

Cystine

ตรวจไม่พบ

Phenylalanine

569.22

Serine

12,860.96

Valine

1444.53

Histidine

1852.94

Glutamic acid

4,431.13

Methionine

39.31

Lysine

1124.10

Proline

493.10

Isoleucine

339.35

Arginine

2082.97

Glycine

4,700.61

Leucine

725.12

Tryptophan

207.77

การทดลองเพิ่มผลผลิตอาหารด้วยโปรตีนไหม

สทน.ได้ทดลองฉีดสารละลายโปรตีนไหมกับข้าวหอมปทุมธานี เนื้อที่ 2 ไร่ เปรียบเทียบกับข้าวหอมปทุมธานีที่ไม่ได้ฉีดสารละลายโปรตีนไหม (เนื้อที่ 10 ไร่) ที่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในแปลงติดกัน มีคันนาติดกัน เริ่มปลูกในวันเดียวกัน และปฏิบัติเช่นเดียวกันทุกขั้นตอน แตกต่างกันที่การฉีดพ่นสารละลายไหมเท่านั้น ผลปรากฏว่า ข้าวหอมปทุมธานี แปลงที่ฉีดสารละลายโปรตีนไหม ให้สภาพต้นข้าวที่ดูแข็งแรง ใบเขียว ตั้งตรงกว่าต้นข้าวที่ไม่ได้ฉีด ออกรวงและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าประมาณ 7 วัน และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 38.75% คิดเป็นจำนวนเงินเพิ่มประมาณไร่ละ 2,900 บาท

ฉีดสารโปรตีนไหม
ไม่ฉีดสารโปรตีนไหม
 
ข้อมูล :
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์