STKC 2553

:

สุรศักดิ์  พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เส้นไหมประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ ไฟโบรอินและซิริซิน (กาวไหม) สารซิริซินผลิตจากต่อมไหมของตัวหนอนไหม มีลักษณะเป็นกาวห่อหุ้มโปรตีนไหม ก่อนที่จะนำเส้นใยไหมมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม จะต้องมีการลอกกาวซิริซินนี้ออกก่อนแล้วทำการย้อมสีต่อไป

ผงไหมสามารถนำมาทำประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้ทำ “เครื่องสำอาง” ทั้งนี้เพราะมีส่วนประกอบของโปรตีนสำคัญ ที่เรียกว่า โปรตีนไฟโบรอิน (Fibroin) ซึ่งมีกรดอะมิโนแอซิด 18 ชนิด โดยอาร์จีไนน์ (Arginine) และซีรีน (Sirene) มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ ริ้วรอยก่อนวัย กระชับรูขุมขน และให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง เซรัมจากผงไหมได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้ผ่านการทดสอบในระดับคลีนิคแล้ว โดยได้ทดสอบในผู้หญิงวัยทำงานอายุ 23 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน และติดตามผลทุก ๆ 15 วัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่า ผู้หญิงร้อยละ 80 รู้สึกพอใจ เนื่องจากผิวพรรณมีความชุ่มชื่นขึ้น ลดริ้วรอยและจุดด่างดำ และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ นอกจากนี้ ผลการวิจัยผงไหมไทย พบว่า ผงไหมไทยชนิดผงซิริซิน มีสารสำคัญบางชนิดที่มีคุณสมบัติเด่นในปริมาณมากกว่าไหมพันธุ์ต่างประเทศ เช่น ช่วยป้องกันผิวแห้งและลดแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 3 เท่า มีสารช่วยชะลอความจำและช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ มากกว่า 2 เท่า และมีสารลดการเจริญของไวรัสและสารต้านไวรัส มีมากกว่า 4 เท่า โดยขณะนี้ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสกัดผงไหมพื้นบ้านให้กับเอกชนแล้ว คาดว่าเมื่อเกิดเป็นอุตสาหกรรม จะส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากเดิมที่มีเพียง 140,000 รายทั่วประเทศ

 
 
ข้อมูล :
  • กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
  • หน่วยประชาสัมพันธ์