Nuclear Science
STKC 2554

การประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาหารฉายรังสี ครั้งที่ 2
(2nd ISO/TC34/WG10 “Food Irradiation”)
ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
3-5 พฤศจิกายน 2553

วรรนิภา  เพี้ยนภักตร์
ศูนย์ฉายรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อาหารฉายรังสี (irradiated food) เป็นอาหารทั่วไปที่นำมาผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานเช่น GAP GMP หรือ HACCP ได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง อาหาร อาหารแช่แข็ง สมุนไพร เป็นต้น และนำมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การฉายรังสีเช่น รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดโคบอลต์ 60 รังสีเอกซ์ที่ระดับพลังงานไม่เกิน 5 MeV รังสีอิเล็กตรอนจาก เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน ที่ระดับพลังงานไม่เกิน 10 MeV ในการทำให้อาหารนั้นปลอดภัยจากแมลงและจุลินทรีย์ ก่อโรค โดยให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ยับยั้งการงอก ชะลอการสุก ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง ลดปริมาณ ปรสิต ลดปริมาณจุลินทรีย์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของอาหารแต่ละชนิด ทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในอาหาร และยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร ซึ่งจากวัตถุประสงค์ต่าง ๆ นี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีการฉายรังสีมาใช้ประโยชน์ในการ ฉายรังสีอาหาร เพื่อให้อาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างมากมายในทุกประเทศ ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานของ อาหารฉายรังสีและออกกฎหมายของตัวเอง แต่ในปัจจุบันการค้าขายอาหารฉายรังสีระหว่างประเทศได้เพิ่มจำนวน มากขึ้น พร้อมกับการยอมรับถึงความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี และเพื่อเป็นการลดการกีดกันทางการค้าระหว่าง ประเทศ ทางองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization-ISO) และสมาชิกร่วมทำงาน (Participating member หรือ P-member) ในคณะกรรมการวิชาการของ ISO คณะที่ 34 ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร (ISO/TC 34 food products) จึงได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานเรื่อง การฉายรังสีอาหาร (Food Irradiation) เพื่อจัดทำร่างมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 14470 Food Irradiation-Requirement for the development, validation and routine control of the ionizing radiation process used for the treatment of food เพื่อให้การผลิต การทดสอบ การบริการ ของอาหารฉายรังสีเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยได้จัดการประชุมนี้ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ณ สถาบันมาตรฐานอาร์เจนตินา (Instituto Argentino De Normalizacion Y Certificacion, IRAM) โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะทำงานนี้ จึงได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเพื่อจัดทำ ร่างมาตรฐานฉบับนี้ และประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อแก้ไข ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นของร่างมาตรฐานฉบับนี้ ตั้งแต่ ปี 2550  โดยผลของการเข้าร่วมประชุมนี้ ทางผู้ประสานงานการประชุม คือ Mariana Funes จะส่ง CD for voting ผ่านทาง National Standardization Body ของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยคือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมต่อไป และคาดว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐาน ISO 14470 ภายในปี 2554 สุดท้ายผลที่ได้จากการเข้าร่วม ประชุมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และผู้ประกอบการการให้บริการฉายรังสี ผู้ประกอบการผลิตอาหารฉายรังสี เพราะจะทำให้เกิดการเตรียมความพร้อม ในการจัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อรองรับการตรวจรับรองของมาตรฐานระหว่างประเทศเรื่องอาหารฉายรังสี และยังเป็น ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาหารฉายรังสีของประเทศไทยในอนาคต
การประชุมคณะทำงานของ ISO/TC 34/ WG 10 อาหารฉายรังสี ครั้งที่ 2
พิธีเปิดการประชุมคณะทำงานของ ISO/TC 34/ WG 10 อาหารฉายรังสี ครั้งที่ 2
   
บรรยากาศการประชุมคณะทำงานของ ISO/TC 34/ WG 10 อาหารฉายรังสี ครั้งที่ 2
วรรนิภา  เพี้ยนภักตร์
โทร. 02-577-4169, 081-647-4265, 084-438-0546
E-mail pwannipa @hotmail.com, wphianphak@yahoo.com
โพสต์เมื่อ : 7 ธันวาคม 2553