Nuclear Science
STKC 2554

การแก้วิกฤตการขาดแคลน Mo-99 ในระยะยาว โดยการใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่ CERN ผลักดันการผลิต
An accelerator- driven production of Mo-99 at CERN as along-term solution to the current world crisis in diagnostic medical imaging

โกมล อังกุรรัตน์
ศูนย์ไอโซโทปรังสี
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บทสรุปผู้บริหาร
ผู้รับการรักษามากกว่า 30 ล้านรายในหนึ่งปี ของการวินิจฉัยทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ถูกภาวะคุกคามในวิกฤต ขาดแคลนนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่สำคัญ Mo-99 ซึ่งจนถึงปัจจุปันวิกฤตการณ์น็้ ยังไม่มีวิธีการแก้ไขการขาดแคลนใน ระยะยาวและถาวร

การดำเนินการอย่างเร่งด่วน ไม่เพียงแต่การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างส่วนใหญ่ของโลก แต่ยังเพื่อป้องกันพัฒนา ทางด้านการถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อการวินิจฉัยและการบำบัดรักษาด้าน นิวเคลียร์โมเลกุล ซึ่งเป็น เครื่องมือจำเป็นเพื่อให้การทำนาย การป้องกัน และเพื่อการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย

ปัจจุบันโซ่อุปทาน Mo-99 อาศัยจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลัก ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาดมากกว่า 300 ล้านยูโร ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เหล่านี้มีอายุมาก ใกล้จะสิ้นสุดอายุการใช้งาน และด้วยอายุการใช้งานมานาน ทำให้ การหยุดซ่อมบำรุงประจำปีแต่ละครั้ง ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดได้แน่นอน ทำให้มีผลต่อการขาดแคลน Mo-99 และเป็นผลกระทบโดยตรงทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ปัญหาการขาดแคลน Mo-99 นี้อาจแก้ไขได้ โดยใช้กระบวนการของเครื่องเร่งอนุภาค มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการผลิต Mo-99 ทดแทนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งมีผลที่ดีกว่ามากมาย ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา ในการตลาด และประเด็นการไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีสถานที่เพียงแห่งเดียวในโลกที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ทั้งทางด้าน ความพอเพียงของความต้องการ และปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ ก็คือ ที่ องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research: CERN) ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือ ระหว่างประเทศ

1. ความเป็นมา
การถ่ายภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์อวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผ่าตัด ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจน ในเชิงปริมาณ และการแสดงผลกระบวนการชีวภาพของร่างกาย เป็นเส้นทางที่จำเป็นในการพัฒนาปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย ด้วยปริมาณเพียงนาโนกรัมของสารประกอบ ที่มุ่งหมายให้ไปที่อวัยวะที่ต้องการนำมาติดฉลากด้วยนิวไคลด์กัมมันตรังสี ก็เพียงพอที่จะสร้างภาพเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในร่างกายผ่านทางเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) หรือเครื่อง SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography) และยังสามารถใช้ในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพถึงระดับโมเลกุล

เวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อการวินิจฉัย โดยการถ่ายภาพอวัยวะและการบำบัดรักษา ทั้งนี้เพื่อการดูแลสุขภาพอนามัยของ ผู้ป่วย ในแง่ของการทำนายโรคและการป้องกัน ตัวสารติดตามสำหรับการสร้างภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือ เทคนีเชียม-99m (Tc-99m) ซึ่งใช้เพื่อการติดฉลากสารประกอบหลายร้อยชนิด ของโปรตีนหรือสารประกอบอื่น ๆ ที่มุ่งหมายให้ไปที่อวัยวะที่ต้องการ คาดหวังว่ากรณีด้านการแพทย์ที่มีการใช้ Tc-99m จะมีผู้รับการรักษาเกินกว่า 30 ล้านรายต่อปี และปริมาณการใช้ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ทุก ๆ ปี โรงพยาบาลสามารถ สกัดเอา Tc-99m มาใช้ได้ตามความต้องการจากเครื่องกำเนิด Tc-99m (Mo-99/Tc-99m generator) และนำเอา Tc-99m นี้มาติดฉลากกับสารเภสัชรังสีพร้อมใช้ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ Tc-99m เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของ Mo-99 ซึ่งตัวกำเนิด Tc-99m หนึ่งตัวจะให้ผลผลิต Tc-99m ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดย Mo-99 ที่นำมาผลิตตัวกำเนิด Tc-99m จะถูกแยกออกมาจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสของยูเรเนียม-235 (U-235) โดยการนำเอา U-235 เสริมสมรรถนะสูงหรือปานกลางปอาบรังสีนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย Mo-99 มีครึ่งชีวิต (Half life) 66 ชั่วโมงจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมวงจรของตัวกำเนิด Mo-99/Tc-99 m จึงใช้งานได้เพียง 1 สัปดาห์

ปัจจุบันโซ่อุปทานทั่วโลกมาจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยหลัก 5 แห่ง คือ 1. NRU จากแคนาดา 2. HFR จาก เนเธอร์แลนด์ 3. SAFARI-1 จากแอฟริกาใต้ 4. BR2 จาก เบลเยียม และ 5. OSIRIS จากฝรั่งเศส โดยใช้กระบวนการ อาบรังสีนิวตรอนของยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง ( Highly Enriched Uranium หรือเรียกว่า HEU ซึ่งมีปริมาณ U-235 อยู่ประมาณ 98 %) แต่เครื่องปฏิกรณ์ร์นิวเคลียร์วิจัยทั้ง 5 แห่งนี้ เป็นเครื่องที่มีอายุใช้งานมานานมากแล้ว บางส่วนที่ สำคัญใกล้สิ้นสุดอายุการใช้งาน บางกรณีการหยุดซ่อมบำรุงประจำปีไม่สามารถคาดการณ์ เวลาที่แล้วเสร็จที่แน่นอนได้ บางครั้งอาจล่าช้าไปเป็นเดือน ซึ่งเป็นผลกระทบกับปริมาณผลผลิต Mo-99 ทำให้เกิดการขาดแคลน Mo-99 ใน ตลาดโลก จึงต้องมองหาทางเลือกใหม่ เพื่อความแน่นอนเชื่อถือได้ ในการตอบสนองความต้องการ Mo-99 เพื่อนำมา ผลิตตัวกำเนิด Mo-99/Tc99m

นอกจากนี้ความไม่เพียงพอของ Mo-99 ยังไม่มีวิธีการแก้ไขที่เชื่อถือได้ในระยะยาวในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์ กลับตอกย้ำความเลวร้ายเพิ่มขึ้น เมื่อแคนาดาได้ตัดสินใจยุติโครงการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย MAPLE ในเดือน พฤษภาคม 2008 โดยตามแผนจะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย 2 เครื่อง เพื่อมาแทนที่เครื่องปฏิกรณ์ นิวเคลียร์วิจัย NRU ที่ใช้ผลิต Mo-99 (NRU และ HFR มีศักยภาพผลิต Mo-99 ได้ 90% ของความต้องการ Mo-99 ทั่วโลก)

2. ทางเลือกที่เชื่อถือได้ระยะยาวเพื่อตอบสนองความต้องการ Mo-99
สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายและการถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (The Association of Imaging Producers & Equipment Suppliers: AIPES) ได้ออกรายงานเรื่องสถานะปัจจุบันของตลาด Mo-99/Tc99m ในเดือนพฤศจิกายน 2008 [1] เน้นความจำเป็นที่จะกำหนดทางเลือกอย่างเร่งด่วน ที่จะผลิต Mo-99 ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เช่น

  • นำเอากิจกรรมบางส่วนหรือทั้งหมด ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีอยู่ เปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมเพื่อผลิต ไอโซโทปรังสีใช้ในทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • การพึ่งพาเครือข่ายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่ใช้ผลิตไอโซโทปรังสีทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่มีขนาด ที่เล็กลง พร้อมทั้งการบริหารจัดการทางด้านการขนส่งที่เกี่ยวข้อง
  • ใช้ประโยชน์จากเครื่องเร่งอนุภาคที่มีค่ากระแสสูงและระบบผสมอื่น ๆ มาใช้สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม ของไอโซโทปรังสีทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่ใช้กับเครื่อง SPECT  PETและไอโซโทปรังสีที่ใช้เพื่อการ บำบัดรักษาบรรเทาอาการปวด

มีข้อบ่งชี้ที่สำคัญว่าทางเลือกในอนาคต ที่จะใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในการผลิตไอโซโทปรังสี ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จะมีผลกระทบจากปัญหาอื่น ๆ เช่นการให้ความสนใจเรื่องระบบความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ และการไม่เผยแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยทางสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ จะเข้มงวดในการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ ด้านนิวเคลียร์ ที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านการทหาร เช่น เชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และสารตั้งต้นในการ ผลิตไอโซโทปรังสี เพื่อให้เปลี่ยนมาใช้ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ (Low-Enriched Uranium: LEU) เพื่อให้เข้าใจ ประเด็นนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานปี 2009 ของ US National Research Council [2] โดยจุดมุ่งหมาย เพื่อหาทางเลือก ในการผลิตไอโซโทปด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ทดแทนการใช้ HEU (High-Enriched Uranium) ข้อมูลด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของการผลิต Mo-99 สามารถศึกษาได้จากรายงานนี้
ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ก็มีรายงานออกโดย TRIUMF [3] โดยเน้นย้ำอีกครั้งสำหรับความต้องการทางเลือกใหม่ ในการผลิต Mo-99 นอกจากการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาเป็นใช้กระบวนการ Photo fission ของยูเรเนียมธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปได้วิธีหนึ่ง

3. การใช้เครื่องเร่งอนุภาคเป็นตัวขับเคลื่อนการผลิต Mo-99 ที่ CERN
ในปี 1999 ที่ The European Organization for Nuclear Research (CERN) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Carlo Rubbia ได้คิดวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการผลิต Mo-99 จากการใช้เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงโดยการใช้ Adiabatic Resonance Crossing (ARC การทำให้เกิดนิวตรอนฟลักซ์สูง ๆ โดยการระดมยิง Be ด้วยลำโฟตอนพลังงานสูง 65 – 75 MeV ประมาณ 2–3 ไมโครแอมป์) [4] ซึ่งวิธีการ ARC ต่อมาได้มีการพัฒนาโดย Advanced Accelerator Applications (AAA) ซึ่งแตกกอ (spin-off) ออกมาจาก CERN สำหรับนวัตกรรมการผลิตไอโซโทปรังสีเพื่อการบำบัดรักษาระยะใกล้ (Brachytherapy) [5] โดยมีการคิดใช้เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง (โฟตอน 1 mA ที่ 1 GeV ให้กำลังของลำพลังงาน สูงถึง 1 MW) ซึ่งมีศักยภาพเทียบเท่ากับนิวตรอนฟลักซ์ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย แต่ด้วยศักยภาพการยกระดับ ด้วยผลของวิธีการ ARC จึงสามารถที่จะผลิต Mo-99 ได้จาก Mo-98 ปกติธรรมดา

ข้อมูลการคำนวณเบื้องต้น จากการทดลอง [6] วิธีการของ ARC โดยเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงขนาดดังกล่าวเพียง เครื่องเดียว สามารถที่จะผลิต Mo-99 สนองความต้องการของโลกในปัจจุบันของ Mo-99 ได้ทั้งหมด 100% โดยใช้ วงจรการผลิตจาก Mo-98 เป็นตัวตั้งต้น โดยไม่ต้องอาศัยวัสดุควบคุมด้านอาวุธนิวเคลียร์ เช่น HEU หรือวัสดุที่สามารถ ทำให้เกิดการแตกตัวได้ด้วยนิวตรอน ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า กัมมันตภาพจำเพาะ (Specific activity) ของ Mo-99 ที่ผลิตได้จากกรรมวิธี ARC ต้องมีค่าเทียบเท่ากับกรรมวิธีการผลิต Mo-99 ที่มาจาก LEU ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งการผลิต Mo-99 จาก LEU ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้ดำเนินการผลิตเป็นประจำทางการค้าแล้วที่ Ezeiza Atomic Centre ประเทศอาร์เจนตินาตั้งแต่ปี 2002 [7] เครื่องเร่งอนุภาคขนาด 1 MW สามารถดำเนินการได้จริง ทั้งนี้สถาบัน The Paul Sherrer Institute (PSI) ประสบความสำเร็จ ในการปฏิบัติการเดินเครื่องมาหลายปีแล้ว โดยใช้โลหะเหลว เป็นสารตั้งต้น [8] ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล ที่จะนำมาปลูกฝังดำเนินการด้วยวิธีการ ARC ในการผลิต Mo-99

มีเหตุผลสนับสนุนที่จะเป็นแรงผลักดันในการสร้างเครื่องเร่งอนุภาคนี้ที่ CERN คือ

  • CERN มีทุกอย่างเป็นธรรมชาติในการสร้างสมรรถภาพของเครื่องเร่งอนุภาค หลังการสิ้นสุดการสร้าง LHC (The Large Hadron Collider) ทำให้มีทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งศักยภาพความสามารถเหลืออยู่
  • ด้วยทรัพยากรและการลงทุนที่จำเป็นต่าง ๆ จะมีความคุ้มค่าที่จะลงทุนระบบเครื่องมือต่าง ๆ ในการผลิตภายใน 5 ปี ในขณะที่การลงทุนสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่ ใช้เวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • CERN มีความสนใจที่จะสร้างเครื่องเร่งอนุภาคโฟตอนพลังงานสูงอยู่แต่เดิม เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่างใน งานวิจัย เพียงแต่มีการออกแบบดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ของเครื่องนี้ไม่มาก ก็สามารถเพิ่มส่วนผลิต Mo-99 ได้
  • เพื่อการประหยัดงบประมาณในการลงทุน ทั้งนี้เพราะมีความเป็นไปได้ ที่จะใช้อุโมงค์ที่มีอยู่แล้วที่ CERN ทั้งนี้ เพื่อประหยัดงบประมาณ ทางด้านระบบสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือการนำเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถอดประกอบ ออกมาจากเครื่องเร่งอนุภาคชุดก่อนของ CERN ที่ไม่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่
  • CERN มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนการแก้ปัญหาทางด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว แสดงให้เห็นจากการที่ได้มีการลงทุน เพื่อการสาธารณะด้านงานวิจัยพื้นฐานต่าง ๆ ของรัฐสมาชิกโดยมุ่งหวังผลที่จะนำมาใช้ เพื่อชีวิตประจำวันอย่างมี นัยยะสำคัญ
  • รายได้ที่เกิดขึ้นจากตลาดทั่วโลกของ Mo-99 ที่มีมูลค่าเกินกว่า 300 ล้านยูโร ซึ่งมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะคำนึงถึง งบประมาณและโครงการของ CERN ในอนาคต

ในวงการอุตสาหกรรมด้านนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเองเพียงลำพัง ต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากแหล่ง ต่าง ๆ และจากสาธารณชน ดังกรณีตัวอย่างของโครงการ ในการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศ ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ที่ดำเนินโครงการโดยขาดแรงสนับสนุนแล้วต้องยกเลิกโครงการไป เช่น แคนาดา ได้เลิกลาโครงการ MAPLE ไปแล้ว CERN เป็นองค์การระหว่างประเทศ และสามารถที่จะแก้ปัญหาระหว่าง ประเทศได้ ก็โดยการใช้กองทุนระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสมาชิกต่าง ๆ ผู้ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหา ขาดแคลน Mo-99 เช่นกัน และกำลังมองหาหนทางวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้อยู่

4. เปรียบเทียบการผลิต Mo-99 ระหว่างเครื่องเร่งอนุภาค กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
การผลิต Mo-99 ด้วยเครื่องเร่งอนุุภาคจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าด้วยข้อสนับสนุน คือ

  • วงจรของการผลิตขึ้นอยู่กับเครื่องที่มีความปลอดภัย และไม่มีประเด็นปัญหาเรื่องการยอมรับของสาธารณชน
  • มีศักยภาพในการผลิตที่มีผลผลิตสูงกว่า ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคเพียงเครื่องเดียวสามารถที่จะผลิต Mo-99 ได้เพียงพอตามความต้องการของโลกปัจจุบัน โดยที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเครื่อง เพียงเครื่องเดียวได้ในปัจจุบัน
  • ระยะเวลาในการสร้างเครื่องเร่งอนุภาคใช้เวลาก่อสร้างสั้นกว่าประมาณ 5 ปี ในขณะที่ถ้าจะเริ่มสร้างเครื่องปฏิกรณ์ นิวเคลียร์เครื่องใหม่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ผลิต Mo-99 อยู่ในปัจจุปัน อาจต้อง หยุดดำเนินการอันเนื่องมาจากอายุของเครื่องที่ใช้งานมานาน
  • มูลค่าของโครงการสร้างเครื่องเร่งอนุภาค จะต่ำกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งจะมีความซับซ้อนกว่า และการรื้อถอนเมื่อต้องปลดระวางประจำการของเครื่องเร่งอนุภาค จะมีมูลค่าต่ำกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาก
  • กระบวนการผลิต Mo-99 ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแบบวิธีการนี้ใช้เพียง Mo-98 ปกติเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ซึ่งประหยัดกว่า ไม่อยู่ในการควบคุมของสารที่เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ เช่น U-235 จึงปลอดภัยกว่าสะอาดกว่า ผลผลิตที่ได้มีเฉพาะ Mo-99 เท่านั้น ในขณะที่ Mo-99 ที่ผลิตจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยใช้ U-235 เป็นสารตั้งต้นจะมี Mo-99 เป็นผลผลิตฟิชชันมีอยู่ประมาณ 6% จึงต้องมีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่จะ แยกเอาเฉพาะ Mo-99 6% นี้ ออกจากผลผลิตฟิชชันอื่น ๆ นอกจากนั้นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว ถ้าจะมีกระบวนการนำมาใช้ใหม่ ก็ต้องใช้งบประมาณที่สูงและแพงในการดำเนินการ
  • การดำเนินการของเครื่องเร่งอนุภาค ใช้งบประมาณและกำลังคนที่น้อยกว่าและมีความปลอดภัยมากกว่า

5. บทสรุป และขั้นตอนต่อไป
การใช้เครื่องเร่งอนุภาคในการผลิต Mo-99 จะมีข้อได้เปรียบในแง่ของความปลอดภัย ราคา เวลาที่น้อยกว่า ไม่มีปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ CERN เป็นฐานตั้งเครื่องเพียงเครื่องเดียว และใช้ ความร่วมมือกันระหว่างประเทศก็จะสามารถให้บริการ Mo-99 ได้ทั้งหมดและสามารถแก้ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ในระดับโลก ทั้งนี้ต้องมีทีมงานของทั้ง CERN และ AAA จัดทำโครงการประเมินค่าลงทุนและระยะเวลาในการ สร้างเครื่อง รูปแบบของธุรกิจจะเป็นโครงการที่สร้างขึ้นบนความคิดแรงผลักดันดังต่อไปนี้

  • CERN เป็นผู้ลงทุนสร้างเครื่องและปฏิบัติงานเดินเครื่องด้วยทีมงาน เครื่องมือ รวมทั้งตัวตั้งต้น ARC (ARC target ) รวมทั้งอุโมงค์สำหรับอาบรังสี
  • จัดให้มีการยื่นข้อเสนอในรูปของกระบวนการร่วมค้าของกลุ่มอุตสาหกรรม ถึงปริมาณที่ต้องการในการอาบรังสี ก่อสร้าง ดำเนินกระบวนการผลิตที่ CERN เพื่อการผลิต Mo-99 บริสุทธิ์ สำหรับบริษัททั้งหลายที่ผลิตเครื่องกำเนิด Mo-99/Tc-99m โดย Mo-99 บริสุทธิ์ที่ผลิตได้จะขายให้แก่บริษัทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบริษัทร่วมค้าหรือไม่เป็นก็ได้ ทั้งนี้บริษัทร่วมค้าจะเป็นผู้ดูแลด้านการขนส่งและการตลาด
  • CERN จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัทร่วมค้า ด้วยสัดส่วนของยอดขายทั้งหมด เปรียบเทียบกับยอดเงิน การลงทุนและมูลค่าการดำเนินงาน
  • บริษัทที่ผลิตเครื่องกำเนิด Mo-99/Tc-99m ทั้งหมดสามารถหาซื้อ Mo-99 ได้จากบริษัทร่วมค้าตามลำดับ ความสำคัญที่เป็นรัฐสมาชิกจาก CERN หรือจากประเทศอื่น ๆ ที่ให้การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ

ในขณะที่จะจัดเตรียมโครงการชุมชนด้านการแพทย์ต่าง ๆ รวมทั้ง AIPES จะต้องเป็นผู้คอยกระตุ้นรัฐสมาชิกต่าง ๆ ของ CERN ให้ตระหนักถึงความจำเป็นและสำคัญของโครงการดังกล่าว

ในขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ รัฐสมาชิกของ CERN ต่าง ๆ ควรร้องขอรัฐบาลของตนในการสนับสนุนงบประมาณแก่ โครงการนี้ ประเทศอื่น ๆ ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เพื่อผลประโยชน์สำหรับการจัดลำดับความสำคัญในการได้รับ การสนับสนุน Mo-99

6. อ้างอิง
[1]
P. Verbeek, Report on Molybdenum-99 production for nuclear medicine, 2010 – 2020, State of the art, AIPES report November 2008.
[2]
US National Research Council, Medical Isotope Production Without Highly Enriched Uranium, The National Academies, 2009.
[3]
TRINFM task force, Making Medical Isotopes, Report of the task force on alternatives for medical-isotope production, University of British Columbia, November 2008.
[4]
C. Rubbia, Neutron-Driven Element Transmuter, PCT-WO 98/59347.
[5]
K.Abbas,S.Buono,N.Burgio,G.Cotogno,L.Maciocco,G.Mercurio,A.Satagana,F.Simonelli, H.Tagaziria, Development of an accelerator driven neutron activation for medical radioisotope production, Nuclear Instruments and Methods in Physics Research A, 601 (2009) 223-228.
[6]
AAA Internal Report, June 2009, Confidential.
[7]
Daniel Cestau, Ariel Novello,Pablo Cristini, Marcelo Bronca,Roberto Centurion,Ricado Bavaro,Julian Cestau,Eduardo Carranza,HEU and LEU comparison in the production of Mo-99, Comision Nacional de Energia Atomica, Centro Atomico Ezeiza, Republica Argentina.
[8]
Werner Wagner, PSI’s Experience with high-power Target Design and Operation, Spallation Neutron Source Division, Paul Scherrer Istitute, Switzerland.
ถอดความจาก Stefano.buono@adacap.com
โพสต์เมื่อ : 29 ธันวาคม 2553