Nuclear Science
STKC 2554

การฉายรังสีแกมมามีผลต่อน้ำหนักโมเลกุล
ของโปรตีนในสารละลายไหมอย่างไร

วรรณี ศรีนุตตระกูล ธีรนันท์ แตงทอง และ มยุรี จันทร์สายทอง
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          เศษไหมจากกระบวนการผลิตผ้าไหมที่ไร้ค่าโดยถูกเผาทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์นั้นพบว่าประกอบด้วย กรดอะมิโน หลายชนิด จึงมีการนำเศษไหมไปใช้ประโยชน์ โดยการผลิตเป็นผงไหม ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ ผงไหมซิริซิน ผลิตจากกาวไหม และ ผงไหมไฟโบรอิน ผลิตจากเส้นใยไหม นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ได้ค้นพบวิธีการผลิตผงไหม โดยการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยการนำเศษไหม ไปฉายรังสีแกมมาก่อนนำมาผลิตเป็นผงไหม ซึ่งทำให้ได้ปริมาณผงไหมที่เพิ่มขึ้น มีขนาดอนุภาคเล็กลง และสามารถละลายน้ำได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีการนำผงไหมไปใช้ประโยชน์ โดยการผลิตเป็นน้ำไหมหรือสารละลายไหม เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงพืชเพื่อช่วยการเจริญเติบโต และใช้ยืดอายุการเก็บรักษา คุณภาพผลมังคุดให้ได้นานขึ้น สมบัติทางเคมีอย่างหนึ่ง ที่สามารถใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารละลายไหมที่ผลิตจากเศษไหม ที่ผ่านการฉายรังสี คือ น้ำหนักโมเลกุล จึงได้ศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีน ในสารละลายไหมซิริซิน ด้วยเทคนิค sodium dodecylsulfate-polyacrylamide gel electrophoresis (SDS-PAGE) โดยการใช้สภาวะ ดังนี้

สารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา 300 kGy ปริมาณต่าง ๆ กัน

(1) 250 mg (2) 200 mg (3) 100 mg และ (4) 50 mg

สารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ไม่ผ่านการฉายรังสี ปริมาณต่าง ๆ กัน

(5) 200 mg (6) 150 mg (7) 100 mg และ (8) 50 mg

โดยการเปรียบเทียบกับ Protein Kaleidoscope standard (K) และ Protein Dual color standard (D)

การ stain ใช้ Gel-code blue และ Coomassie brilliant blue

ซึ่งจากผลการวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนในสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ไม่ได้ผ่าน การฉายรังสี และ เศษไหมที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา 300 kGy พบว่าสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหม ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา 300 kGy มีน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนที่เล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับสารละลายไหม ที่ไม่ได้ผ่านการฉายรังสี เนื่องจากรังสีแกมมาทำให้ พันธะเพปไทด์ของโปรตีนเสื่อมสลาย (degradation) น้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนจึงลดลง โดยสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหม ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา 300 kGy มีน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนต่ำกว่า 100 kDa ส่วนสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ไม่ได้ผ่านการฉายรังสีแกมมา มีน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนช่วง 10-250 kDa โดยน้ำหนักโมเลกุลส่วนใหญ่จะมากกว่า 37 kDa ดังนั้น การใช้รังสีแกมมาขนาด 300 kGy เพื่อฉายเศษไหม มีผลทำให้น้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนในสารละลายไหม ซิริซินเล็กลง

  • การใช้ Gel-code blue และ Coomassie brilliant blue ในการ stain

 

(a)
 
(b)
 
ภาพ SDS-PAGE ของสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ผ่านการฉายรังสี (1-4) และที่เตรียมจากเศษไหมที่ไม่ผ่านการฉายรังสี (5-8) เปรียบเทียบกับ Protein Kaleidoscope standard (K) และ Protein Dual color standard (D) โดยการใช้ 5% stacking gel และ (a) 6% resolving gel (b) 10% resolving gel
 
  • การใช้ Coomassie brilliant blue ในการ stain
(a)
 
(b)
 

ภาพ SDS-PAGE ของสารละลายไหมที่เตรียมจากเศษไหมที่ผ่านการฉายรังสี (1-4) และที่เตรียมจากเศษไหมที่ไม่ผ่านการฉายรังสี (5-8) เปรียบเทียบกับ Protein Kaleidoscope standard (K) และ Protein Dual color standard (D) โดยการใช้ 5% stacking gel และ (a) 6% resolving gel (b) 10% resolving gel

ขอขอบคุณ ดร. สุวิมล เจตะวัฒนะ และ ดร. พิมพ์พร อุทยารัตน์ ที่อนุเคราะห์ในการวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุล

โพสต์เมื่อ : 17 มิถุนายน 2554