Nuclear Science
STKC 2555

รางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

รางวัลโนเบลเริ่มมีการมอบครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1901 และมีหลายรางวัลที่มอบให้กับการวิจัยและวิชาการอุปกรณ์ ทางนิวเคลียร์ ซึ่งแตกออกไปหลายสาขาวิชา อาทิเช่น ฟิสิกส์อนุภาค นิวเคลียร์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง     เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และแม้แต่ อาวุธนิวเคลียร์ ความเข้าใจการทำงานของนิวเคลียส และใช้ความรู้นั้นไปสู่เทคโนโลยี เป็นหนึ่งในความสำเร็จ ของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20
ชื่อ

การค้นพบ

ปี (สาขา)

อองรี แบ็กเกอแรล (Henri Becquerel) ปีแอร์ กูรี (Pierre Curie) และมารี กูรี (Marie Curie)

ปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสีเกิดเอง (spontaneous radioactivity) ตามธรรมชาติ

1903 (ฟิสิกส์)

เอร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford)

ผลงานด้านการแปรธาตุ (disintegration of the elements) และเคมีของธาตุกัมมันตรังสี

1908 (เคมี)

มารี กูรี (Marie Curie)

การค้นพบธาตุเรเดียม (radium) และพอโลเนียม (polonium)

1911 (เคมี)

เฟรเดอริก ซ็อดดี (Frederick Soddy)

ผลงานว่าด้วยเคมีของสารกัมมันตรังสี รวมถึงต้นกำเนิด และธรรมชาติของไอโซโทปกัมมันตรังสี

1921 (เคมี)

ฟรานซิส แอสตัน (Francis Aston)

การค้นพบไอโซโทปหลายชนิดของธาตุเสถียร และเสนอกฎเลขจำนวนเต็ม สำหรับมวลเชิงอะตอม (atomic mass)

1922 (เคมี)

นีลส์ โบร์ (Niels Bohr)

ศึกษาโครงสร้างของอะตอมและรังสี ที่ปลดปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม

1922 (ฟิสิกส์)

ชาลส์ วิลสัน (Charles Wilson)

พัฒนาห้องหมอก (cloud chamber) สำหรับตรวจหาอนุภาคมีประจุ (charged particles)

1927 (ฟิสิกส์)

ฮาโรลด์ ยูรีย์ (Harold Urey)

ค้นพบไฮโดรเจนมวลหนัก (heavy hydrogen) หรือที่มีชื่อเรียกว่า (deuterium)

1934 (เคมี)

เฟรเดริก โชลีโย (Frederic Joliot) และอีแรน โชลีโย-กูรี (Irene Joliot-Curie)

สังเคระห์ธาตุกัมมันตรังสีใหม่ ๆ ขึ้นหลายธาตุ

1935 (เคมี)

เจมส์ แชดวิก (James Chadwick)

ค้นพบนิวตรอน (neutron)

1935 (ฟิสิกส์)

คาร์ล เดวิด แอนเดอร์สัน (Carl David Anderson)

ค้นพบโพซิตรอน (positron)

1936 (ฟิสิกส์)

เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi)

ผลิตธาตุกัมมันตรังสีใหม่ ๆ โดยการระดมยิงด้วยนิวตรอน

1938 (ฟิสิกส์)

เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์ (Ernest Lawrence)

ประดิษฐ์ไซโคลทรอน (cyclotron)

1939 (ฟิสิกส์)

กีออร์เก เด เฮเวชี (George De Hevesy)

ใช้ไอโซโทปเป็นตัวตามรอย (tracers) สำหรับศึกษากระบวนการทางเคมี

1943 (เคมี)

ออทโท ฮาน (Otto Hahn)

ค้นพบการแบ่งแยก (fission) ของนิวเคลียสที่มีมวลใหญ่มาก

1944 (เคมี)

แพทริก แบล็กเกตต์ (Patrick Blackett)

ปรับปรุงห้องหมอก (ห้องฟอง หรือ bubble chamber) ตลอดจนการค้นพบทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ และรังสีคอสมิก (cosmic rays)

1948 (ฟิสิกส์)

ฮิเดะกิ ยุกะวะ (Hideki Yukawa)

ทำนายว่ามีอนุภาคมีซอน (meson) อันเป็นพื้นฐานของแรงนิวเคลียร์ (nuclear force)

1949 (ฟิสิกส์)

เซซิล เพาเวลล์ (Cecil Powell)

พัฒนากรรมวิธีการถ่ายรูป (photographic method) สำหรับศึกษากระบวนการทางนิวเคลียร์

1950 (ฟิสิกส์)

เอ็ดวิน แมกมิลแลน (Edwin McMillan) และเกล็นน์ ซีบอร์ก (Glenn Seaborg)

ค้นพบเคมีของธาตุหลังยูเรเนียม (transuranium elements)

1951 (เคมี)

จอห์น ค็อกครอฟต์ (John Cockcroft) และเออร์เนสต์ วอลตัน (Ernest Walton)

การแปรธาตุ (transmutation) ของนิวเคลียสด้วยอนุภาคถูกเร่งความเร็ว (accelerated particles)

1951 (ฟิสิกส์)

เฟลิกซ์ บลอก (Felix Bloch) และเอ็ดเวิร์ด เพอร์เซลล์ (Edward Purcell)

วัดสนามแม่เหล็กภายในนิวเคลียสของอะตอม (NMR)

1952 (ฟิสิกส์)

วอลเทอร์ โบเทอ (Walther Bothe)

วิเคราะห์รังสีคอสมิกด้วยกรรมวิธีบรรจวบ (coincidence method)

1954 (ฟิสิกส์)

วิลลาร์ด ลิบบี (Willard Libby)

กรรมวิธีหาอายุโดยการใช้คาร์บอน-14 (14C)

1960 (เคมี)

รอเบิร์ต ฮอฟสตัดเทอร์ (Robert Hofstadter)

ศึกษาโครงสร้างของนิวเคลียส (nuclear structure) โดยการเลี้ยวเบนอิเล็กตรอน (electron scattering)

1961 (ฟิสิกส์)

รูดอล์ฟ เมิสส์เบาเออร์ (Rudolf Moessbauer)

ค้นพบเรโซแนนซ์การดูดกลืนรังสีแกมมา ภายในนิวเคลียสแบบไม่สะท้อนกลับ (recoilless resonance absorption of gamma rays in nuclei)

1961 (ฟิสิกส์)

ยูจีน วิกเนอร์ Eugene Wigner)

การใช้หลักสมมาตร (symmetry principles) กับนิวเคลียส

1963 (ฟิสิกส์)

มาเรีย โกเอปเพิร์ต-ไมเออร์ (Maria Goeppert-Mayer) และฮันส์ เจนเสน (Hans Jensen)

พัฒนาแบบจำลองเชลล์ของนิวเคลียส (nuclear shell model)

1963 (ฟิสิกส์)

ฮันส์ เบเทอ (Hans Bethe)

พัฒนาทฤษฎีปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงดาว

1967 (ฟิสิกส์)

โอเว โบร์ (Aage Bohr) เบน มอตเทลสัน (Ben Mottelson) และเจมส์ เรนวอเทอร์ (James Rainwater)

พัฒนาทฤษฎีสถานะร่วม (collective states) ภายในนิวเคลียส

1975 (ฟิสิกส์)

รอซาลินด์ เยโลว์ (Rosalind Yalow)

ศึกษาอินซูลินด้วยตัวตามรอยกัมมันตรังสี (radioactive tracers)

1977 (ชีววิทยา)

วิลเลียม เฟาว์เลอร์ (William Fowler)

ศึกษาการก่อตัวของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งผลิตธาตุทางเคมี ในกระบวนการทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (astrophysical processes)

1983 (ฟิสิกส์)

โพสต์เมื่อ : 21 ตุลาคม 2554