Nuclear Science
STKC 2555

ลำดับเวลา 50 ปีแรกของรังสีเอกซ์และการป้องกันรังสีเอกซ์

สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

1895

  • 8 พฤศจิกายน วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm Konrad Roentgen) ค้นพบรังสีเอกซ์

1896

  • 3 มกราคม เรินต์เกน เผยแพร่รายงานการค้นพบรังสีเอกซ์สู่สาธารณะ
  • กุมภาพันธ์ อองรี แบ็กเกอแรล (Henri Becquerel) ค้นพบ “ปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี” (Radioactivity)
  • 3 มีนาคม ทอมัส เอดิสัน (T.A. Edison) และ W.J. Morton รายงานเป็นครั้งแรก ว่ารังสีเอกซ์อาจก่อความเจ็บป่วย โดยพบกรณีทำความเสียหายแก่ดวงตา
  • 14 มีนาคม F. Battelli กังวลถึงความเป็นไปได้ของการบาดเจ็บจากรังสีเอกซ์
  • 10 เมษายน J. Daniel สังเกตอาการผมร่วงหมดศีรษะ (epilation) จากการรับรังสีเอกซ์
  • 18 เมษายน L. G. Stevens สังเกตผลต่อผิวหนังเป็นครั้งแรก
  • กรกฎาคม W.H. Rollins เป็นครั้งแรกที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีเอกซ์จาก แผ่นแก้วชนิดมวลหนัก (heavy glass plate) สำหรับป้องกันตา ขณะถ่ายภาพรังสีฟัน
  • H.D. Hawks รายงานการบาดเจ็บ (แผลไหม้) โดยบังเอิญ หลายกรณี
  • 18 พฤศจิกายน E. Thomson เจตนาทดลองเหนี่ยวนำให้เกิดการบาดเจ็บ (แผลไหม้)
  • L. Benoist ใช้ “อิเล็กโตรสโคปแบบแผ่นทองคำเปลว” (gold leaf electroscope) สำหรับวัดการแตกตัวเป็นไอออน

1897

  • E. Dorn ใช้ “เทอโมมิเตอร์อากาศ” (air thermometer) วัดการถ่ายโอนพลังงานโดยรังสีเอกซ์

1898

  • มกราคม E. Thomson ใช้ตัวกรองอะลูมิเนียมเป็นอุปกรณ์ป้องกันรังสี
  • พฤษภาคม F.H. Williams เสนอแนะการปรับสายตาในที่มืด (dark adaptation) ก่อน “การดูภาพรังสีบนจอ” (fluoroscopy)

 

 

"...แพทย์ผ่าตัดใช้ฟลูออโรสโคปหาตำแหน่งผิดปกติ..."

 

  • กรกฎาคม W.H. Rollins ใช้ตะกั่วหุ้มตัวเรือนหลอดเอกซเรย์และคอลลิเมเตอร์
  • กรกฎาคม ปีแอร์และมารี กูรี (Pierre and Marie Curie) บัญญัติคำว่า “กัมมันตภาพรังสี” (radioactivity)
  • ธันวาคม ปีแอร์และมารี กูรี ค้นพบธาตุเรเดียม
  • ปอล วียาร์ (Paul Villard) ค้นพบรังสีแกมมา

1899

  • เมษายน J. Dennis เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพรังสีได้รับอนุญาต (radiographer licensure) เสนอแนะการป้องกันรังสีแก่บุคคลทั่วไป
  • พฤษภาคม การชดเชยจากการรักษาผิดพลาด (malpractice award) แผลไหม้จากรังสีเอกซ์
  • สังเกตพบรังสีเอกซ์เป็นตัวก่อแก๊สโอโซนซึ่งมีอันตราย
  • แคตาล็อกสินค้าเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ของ บริษัท R. Friedlander Co. มีรายการอุปกรณ์ป้องกัน (ถุงมือ เอี๊ยม ฯลฯ)

1900

  • M.K. Kassabian เพิ่มระยะห่างจากเป้า (target) ถึงผิวหนัง เพื่อลดการรับรังสีของผิวหนัง

1901

  • 3 มกราคม มีการกล่าวหาว่ารังสีเอกซ์ทำให้มีผู้เสียชีวิต
  • อองรี แบ็กเกอแรล ผิวหนังไหม้เกิดจากการพกพาเรเดียมไว้ในกระเป๋าเสื้อ
  • W.H. Rollins ทำการทดลองสาธิตให้เห็นว่ารังสีเอกซ์ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึงตายได้

1902

  • W.H. Rollins สาธิตรังสีเอกซ์ทำให้ลูกในครรภ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึงตาย

1903

  • W.H. Rollins ใช้วิธีให้รับรังสีเป็นช่วง ๆ (fractionated exposure) ในการดูภาพรังสีบนจอ (fluoroscopy)
  • S.H. Monell เสนอแนะในสมาคมรังสีเรินต์เกนแห่งสหรัฐอเมริกา (American Roentgen Ray Society: ARRS) ให้ตั้งคณะกรรมการด้านการป้องกันรังสี
  • วิลเลียม ครูกส์ (W. Crookes) ประดิษฐ์กล้อง spinthariscope อุปกรณ์ชนิดแรกที่อ่านรังสีได้โดยตรง

1904

  • ตุลาคม C.M. Dally เป็นผู้บุกเบิกด้านรังสีเอกซ์คนแรกที่เสียชีวิตจากการได้รับรังสีสะสมเกินขนาด

1905

  • M. Franklin เสนอแนะหน่วยรังสีที่ใช้พื้นฐานการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) เป็นครั้งแรก

1906

  • J. Bergonie และ R. Tribondeau ผลักดันกฎว่าด้วย “สภาพไวต่อรังสี” (radiosensitivity) ของเนื้อเยื่อ

1907

  • C.R. Bardeen รายงานการกลายพันธุ์ของคางคกด้วยรังสีเอกซ์
  • R.V. Wagner ใช้การพกพา “เพลตถ่ายรูป” (photographic plate) ในกระเป๋าเสื้อ สำหรับเฝ้าสังเกต (monitor) การได้รับรังสีเอกซ์
  • เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (E. Rutherford) ใช้หลอดบรรจุด้วยแก๊สสำหรับตรวจวัดรังสี

1911

  • มารี กูรี เตรียม “สารเรเดียมมาตรฐานระหว่างประเทศ” (international radium standard) และมีส่วนตั้งหน่วย “คูรี” (Curie)

1912

  • T. Christan เสนอแนวคิด “ความหนาลดรังสีลงครึ่ง” (half value layer)

1913

  • W.D. Coolidge ใช้หลอดรังสีเอกซ์ “ร้อน” และใช้เป้าทังสเตน ทำให้ได้ศักย์ไฟฟ้าสูงขึ้น

1915

  • สมาคมเรินต์เกนแห่งประเทศอังกฤษ (British Roentgen Society: BRS) ลงมติให้ใช้ “ข้อแนะนำการป้องกันรังสี” (radiation protection recommendations)

1920

  • ARRS ตั้ง “คณะกรรมการประจำด้านการป้องกันรังสีเอกซ์” (standing x-ray protection committee) เป็นครั้งแรก

1921

  • คณะกรรมการด้านการป้องกันรังสีเอกซ์และเรเดียมแห่งประเทศอังกฤษ (British X-Ray and Radium Protection Committee) เผยแพร่ “บันทึกข้อความ” (memorandum) ฉบับแรก

1922

  • ARRS ลงมติรับรอง “กฎว่าด้วยการป้องกันรังสี” (radiation protection rules)
  • G. Pfahler ใช้ “ฟิล์มแบดจ์” (film badge) สำหรับเฝ้าสังเกตการรับรังสีบุคคล (personnel monitoring)

1925

  • A. Mutscheller เสนอให้ใช้ "ปริมาณรังสีพอทน" (tolerance dose) เป็นครั้งแรก

1927

  • H.J. Muller เผยให้เห็นผลทางพันธุกรรมของรังสี
  • J. Victoreen ใช้ “แชมเบอร์เกิดไอออน” (ionization chamber) เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

1928

  • ยอมรับหน่วย “เรินต์เกน” อย่างเป็นทางการ
  • ก่อตั้ง คณะกรรมการด้านการป้องกันรังสีเอกซ์และเรเดียมระหว่างประเทศ (International X-Ray and Radium Protection Committee: ICXRP) ซึ่งภายหลังจะเปลี่ยนเป็น ICRP

1929

  • ก่อตั้ง คณะที่ปรึกษาด้านการป้องกันรังสีเอกซ์และเรเดียมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Advisory Committee on X-Ray and Radium Protection: USACXRP) ซึ่งภายหลังจะเปลี่ยนเป็น NCRP
  • L.S. Taylor ประดิษฐ์ต้นแบบ “เครื่องสำรวจรังสีแบบเคลื่อนย้ายได้” (portable survey meter) เครื่องแรก

1931

  • USACXRP ตีพิมพ์ค่าเสนอแนะของการรับรังสีเป็นครั้งแรก คือ 0.2 เรินต์เกน / วัน (R/day)

1932

  • G. Failla เสนอแนวคิด “ปริมาณรังสีพอยอมได้” (permissible dose) ว่าให้สูงกว่าได้สำหรับบางส่วนของร่างกาย (เช่น มือ)
  • เจมส์ แชดวิก (James Chadwick) ค้นพบนิวตรอน

1934

  • ICXRP เสนอแนะ ปริมาณรังสีพอยอมได้ เท่ากับ 0.2 เรินต์เกน / วัน
  • 0.1 เรินต์เกน / วัน (0.5 เรินต์เกน / สัปดาห์)

1935

  • หลุยส์ แฮโรลด์ เกรย์ (L.H. Gray) แถลงหลักการแควิตีเกิดไอออนของแบรกก์-เกรย์ (Bragg-Gray principle of cavity ionization)

1936

  • USACXRP เสนอแนะให้ลด ปริมาณรังสีพอยอมได้ ลงเหลือ 0.1 เรินต์เกน / วัน

1941

  • USACXRP เสนอแนะให้รับรอง “ปริมาณรังสีทั่วตัวสูงสุด” (maximum body burden) เท่ากับ 0.1 ไมโครคูรี สำหรับเรเดียม
  • L.S. Taylor เสนอให้ใช้ “ปริมาณรังสีพอยอมได้สูงสุด” (maximum permissible dose) เท่ากับ 0.02 เรินต์เกน / วัน

1942-1945

  • ระยะเวลาดำเนินงานของโครงการแมนแฮตตัน (Manhattan District)

1943

  • H.M. Parker แสดงให้เห็นว่า ปริมาณรังสี 4 เรินต์เกน / สัปดาห์ ทำให้บาดเจ็บได้

1944

  • H.M. Parker ริเริ่มใช้ “ความเข้มข้นพอยอมได้สูงสุด” (maximum permissible concentration) สำหรับ กัมมันตภาพรังสีกรณีสูดหายใจ (inhaled radioactivity)
  • H.M. Parker ริเริ่มใช้ “เร็ม” (rem: roentgen equivalent mammal/man) และ “เร็พ” (rep: R?ntgen equivalent physical)

1948

  • 0.3 เรินต์เกน / สัปดาห์

1950

  • 0.3 เร็ม / สัปดาห์

จาก Chronology of the First Half Century of Radiation Protection โดย R. Kathren และ P. Ziemer

โพสต์เมื่อ : 2 ธันวาคม 2554