Nuclear Science
STKC 2555

ลูกกำพร้า

บุญสม พรเทพเกษมสันต์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            เป็นเรื่องน่าเศร้าที่พบลูกกำพร้ามากมายขนาดนั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ปล่อยให้ความเศร้าเกาะกุมหัวใจ อยู่นานนัก พวกเขายังพากันอุทิศตัวเป็นพ่อและแม่บุญธรรมให้กับลูกกำพร้าเหล่านั้น มิหนำซ้ำยังพยายามหาสาเหตุ แห่งโศกนาฏกรรมนี้ด้วย
            ที่เห็นในภาพเป็นลูกค้างคาวกำพร้าที่พบบริเวณชายฝั่งโกลด์โคสต์ (Gold Coast) ประเทศออสเตรเลีย พวกมันตกอยู่ภายใต้วงล้อมของหนอนแมลงวันจำนวนมากบนพื้นดิน คุณทริช วิมเบอร์ลีย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลค้างคาวและสัตว์ป่าแห่งออสเตรเลียอธิบายว่า “การที่พวกมันมาอยู่บนพื้นดินแทนที่จะอยู่บนที่สูง ก็เพราะพวกมันต้องการหาอะไรกิน ซึ่งการมาอยู่บนพื้นดินนี้เป็นอันตรายต่อพวกมันอย่างยิ่ง และนี่ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมบนโลกของเราเริ่มเลวลงทุกที”
ทริช วิมเบอร์ลีย์ กับลูกค้างคาวสามตัว

            ศูนย์แห่งนี้รับอนุบาลลูกค้างคาวกำพร้าที่พบพร้อมกันจำนวนมากกว่า 100 ตัว และมีอายุใกล้เคียงกัน คือประมาณ 4 สัปดาห์ การพบลูกค้างคาวจำนวนมาก เนื่องจากค้างคาวมักออกหากินรวมกันเป็นฝูง บินไปต่างถิ่น แต่ผลของโลกร้อน อาจทำให้เส้นแรงแม่เหล็กโลก หรือ รังสียูวีที่ทะลุผ่านชั้นบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มค้างคาว (ผู้ใหญ่) ไม่สามารถกลับมายังถิ่นอาศัยของมันได้

            ศูนย์ดูแลค้างคาวและสัตว์ป่าแห่งออสเตรเลีย จะรับดูแลลูกกำพร้าเหล่านี้ไปอีกประมาณ 4 สัปดาห์ ก่อนจะส่งกลับสู่ธรรมชาติต่อไป ในระหว่างนี้พวกมันจึงต้องถูกห่อหุ้มด้วยผ้า และแขวนห้อยหัวอยู่บนราวตากผ้าไปก่อน ดูภาพแล้ว คงต้องบอกว่า “ช่างน่าเกลียดน่าชังเสียจริง ๆ เชียว”

จากเรื่อง (Bat camp: orphaned critters nursed back to health http//www.newscientist.com)

โพสต์เมื่อ : 27 เมษายน 2555